ประสบการณ์การตรวจรับคอนโดเอง

ไม่กี่วันที่ผ่านมาผมได้เข้าตรวจคอนโดใหม่ก่อนที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่าตัวเองจะมีต้นทุนจากประสบการณ์การทำงานและการเรียนด้านสถาปัตยกรรมมาบ้างก็ยังคงเป็นความท้าทายอย่างนึง และทุกครั้งที่ต้องเข้าตรวจก็จะมีความคิดเดิมของผมวนซ้ำไปซ้ำมา






ความคาดหวังจากช่าง

  • จากการพูดคุยกับช่าง ช่างต้องการ…การคาดหวังที่ลูกค้าหรือบุคคลอื่นที่ถูกจ้างมาเพื่อตรวจรับเดินมาบอกว่าเหลืออะไรที่ต้องทำมั่ง ถึงจะผ่านมาตรฐาน หรือยอมรับได้
  • การตรวจที่ครบถ้วนและมาทีเดียว แน่นอนช่างไม่มีปัญหาเรื่องการแก้ไขงานให้ถูกใจลูกค้า แต่มันจะลำบากหากมาให้แก้เป็นรอบๆไม่จบ เค้ามีการขอให้จ้างตรวจหรือตรวจเพียงครั้งเดียว
  • รายการตกหล่นหรือเพิ่มเติมที่ปัดไปอยู่หลังส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธ์ หากมีรายการเพิ่มเติม หรือมาตรวจเจอภายหลัง ถึงแม้ว่าจะเป็นจ้อบกพร่องของคุณภาพโครงการทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ รายการเหล่านั้นจะตกไปอยู่ในรายการที่ต้องแก้หลังส่งมอบ หรือก็คือช่วง Warranty นั้นเอง

ความคาดหวังของผู้ซื้อ(ผม)

  • ห้องที่พร้อมสำหรับการเข้าตรวจจริงๆ ไม่ใช่แต่ติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างเสร็จ เอาขยะจากการก่อสร้างออก และให้แม่บ้านมาปัดกวาดหน่อย
  • ห้องที่มีความสะอาดและมีมาตรฐานที่ควรจะเป็น และพร้อมจะอยู่ ไม่ใช่รอให้คนเดินมาบอกให้ทำตรงนั้นตรงนี้ หรือฝุ่นคราบ ความสกปรกที่เห็นชัดเจนอยู่
  • ห้องที่แทบไม่ต้องมีการจ้างคนอื่นมาตรวจ เหมือนการซื้อรถใหม่ที่มาแบบพร้อมขับ ไม่ต้องจ้างคนมาดูว่าใส่อะไหล่มาไม่ครบ มีกระดาษอยู่ในท่อไอเสีย หรือเปิดแล้วแอร์ไม่เย็น
  • Warranty คือการรับประกันคุณภาพของงาน ไม่ใช่การโยนภาระการแก้ไขห้องไว้ทีหลัง บังคับให้ลูกค้าเซ็นต์รับเพื่อโอนกรรมสิทธ์ก่อน แล้วเจ้าของโครงการก็รับเงินจากผมหรือธนาคารไป

จะเห็นได้ว่าการธุรกิจบ้านและคอนโด ไม่มีมาตรฐานการส่งมอบที่ดีพอเมื่อเทียบกับรถยนตร์ หรือสินค้าประเภทอื่นๆ ทั้งที่มีราคาสูงและโอกาสเข้าถึงได้น้อยกว่า การตรวจและรับมอบบ้านจึงค่อนข้างมีช่องว่างของประสบการณ์ลูกค้าที่ดีอยู่เยอะมาก นี่ยังไม่รวมประสบการณ์และการดูแลหลังการขายอีกนะ ทำไมภาระการตรวจรับถูกผลักไปสู่ผู้ซื้อได้อย่างไรก็ไม่ทราบ และโครงการหรือ Developer ที่ไม่สามารถสร้างมาตรฐานการส่งมอบที่มีคุณภาพเพียงพอให้ไม่ต้องพึ่งพาบุคคลภายนอกได้

ผู้ซื้อบ้านหลายๆคนอาจจะไม่ได้คิดเหมือนผม และไม่ได้มีปัญหาตรงจุดนี้ แต่ขนาดผมมีความรู้ติดตัวอยู่บ้างยังรู้สึกเลยว่าคนจะซื้อบ้านนอกจากจ่ายตังค่าบ้าน ค่าตกแต่ง ย้ายของ ต้องมาเสียเวลากับการตรวจรับบ้านอีก หากไม่ทำผมบอกเลยว่ามีปัญหาแน่ๆ เพราะขนาด Developer ที่มืชื่อเสียงยังมีจุดบกพร่องเลย ผมเคยไปโครงการนึงแถวเมกาบางนาให้ลูกค้ารับบ้านทั้งๆที่ถนนหน้าบ้านยังสร้างไม่เสร็จเพื่อให้ได้ราคาพิเศษ ในทุกวันที่ลูกค้ากลับบ้านเค้าอาจจะไม่รู้ หรืออาจจะรู้แต่รับได้กับความเสี่ยงที่จะตกหล่นลงไปในท่อ อยู่กับถนนที่ไม่สะอาด เครื่องมือและอุปกรณ์ก่อสร้างวางกองอยู่ตามถนน เลวร้ายสุดคือรถบรรทุกใช้ทางเข้าร่วมกับลูกบ้าน และเด็กๆ หรือสัตว์เลี้ยงที่เราพาออกมาเดินเล่น






แต่ในเมื่อการตรวจเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่าภาระมันถูกผลักมาให้เราแล้ว

เราก็ต้องใช้สิทธ์ของเราเต็มที่ในเมื่อเค้าไม่มีมาตรฐานและเปิดโอกาสให้เราใช้มาตรฐานเรา ผมก็เลยค่อนข้างต้องทำการบ้านเยอะหน่อย แน่นอนผมไม่จ้าง แต่ก็ไม่แนะนำให้คนอ่านทำตาม เพราะว่าผมเรียนมาแต่ผมไม่ได้เป็นมืออาชีพอีกต่อไป ยังไงจ้างก็น่าจะปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะกับบ้านที่มีงานระบบที่แยกออกมาจากส่วนกลางมากกว่าคอนโด 

และนี่เป็นแนวทางการเตรียมตัวตรวจคอนโดด้วยตัวเอง


1. ทำการบ้านเรื่อง Developer

จริงๆนี่น่าจะเป็นหัวข้อแรกก่อนการตัดสินใจซื้อเลย เพราะว่าเค้าทำธุรกิจ เค้าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของเรา เค้าทำทุกอย่างเพื่อให้เค้าขายได้กำไรดีที่สุด และง่ายที่สุด เซลก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้ามากที่สุด ดังนั้นไม่ควรเชื่อสิ่งที่คุณได้ยินจากคนขาย หรือช่องรีวิวตาม Youtube พยายามออกไปคุยกับลูกบ้านจริงๆ พยายามเข้าไปเยี่ยมชมทุกเวลาเท่าที่เป็นไปได้ เพราะแสง แดด ลม กลิ่น ฝุ่น เสียง แต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน พยายามนัดเซลเวลาหรือวันที่แตกต่างกันออกไป

อีกอย่างถ้าจะซื้อบ้านกับ Developer ที่ไม่ได้เป็นที่รู้จัก ต้องทำการบ้านเรื่องโครงการอื่นๆเพื่อเป็น Reference มองที่ทำโดยคนๆเดียวกันให้ดี จริงๆเรื่องนี้ลึกมาก แต่ผมขอเบรคแค่นี้ดีกว่า


2. ทำการบ้านเรื่องของผู้ที่เคยมาตรวจ

อันนี้เป็นแนวคิดใหม่ที่ผมเพิ่งเจอ เพราะว่าผม search ชื่อโครงการแล้วไปเจอคนตรวจบ้านท่านนึงแชร์ ตัวอย่างผลงานหรือ report เอาไว้ ผมเลยได้เค้าไปดูและสังเกตปัญหาที่อาจจะเจอในโครงการเดียวกัน หรือถ้าไม่มีก็ดูเป็น Developer เดียวกันก็ได้ อย่างน้อยก็จะได้แนวทางและระดับมาตรฐานของคุณภาพก่อนส่งมอบงาน แน่นอนข้อมูลเหล่านี้มันค่อยข้างไม่แน่นอนเพราะว่า วิศวกร ช่าง หรือ บริษัทที่มาทำรับเหมาช่วงก็มีมาตรฐานแตกต่างไปอีก แต่อย่างน้อยข้อมูลเหล่านี้จะให้แนวทาง หรือประเด็นที่คุณควรให้ความสนใจ รวมไปถึงเครื่องมือตรวจที่คุณอาจหาหรือหยิบยืมมาใช้ด้วย






3. ทำการบ้านเรื่องห้องและแนวทางที่จะตรวจ

ข้อมูลเหล่านี้มีทั่วไปใน internet แม้กระทั่งบริษัทสร้างบ้านเองก็มีเขียนเอาไว้ให้อ่าน แต่ไม่มีที่ไหนเขียนละเอียดเพียงพอที่จะเอาไปใช้จริง หรือถ้ามีก็จะอยู่ที่คุณแล้วว่าคุณจะสามารถดูออกหรือทำตามได้ไหม เพราะว่าหลายๆอย่างจะค่อนข้างเป้นโลกใหม่สำหรับคุณโดยเฉพาะถ้าเป็นบ้านหรือคอนโดหลังแรก และคุณไม่เคยรับผิดชอบเรื่องพวกนี้ด้วยตัวเองมาก่อน ตัวอย่าง ผมเองก็ตกหล่นเรื่องของการตรวจระเบียงและด้านหน้าทางเข้าที่เป้นด้านนอกไป เพราะมัวแต่ focus กับห้องด้านใน





4. ทำการบ้านเรื่องอุปกรณ์ แผน ทีมและวิธีการตรวจ

สำรวจดูว่าคุณต้องตรวจระดับไหน กับบางกรณีคุณอาจจะไม่ต้องตรวจแบบทุกอย่างทุกจุดก็ได้ อันนี้เป็นความเห็นจากประสบการณ์ล้วนๆ เช่น เรื่องระบบน้ำของคอนโด เราไม่ต้องทำการขังน้ำเพื่อดูน้ำรั่วซึม เพราะว่าคุณไม่สามารถขอห้องข้างบนทำได้คุณได้แต่ทำให้ห้องข้างล่าง หรือถ้าบ้านคุณแค่ขังน้ำไม่กี่นาทีคุณแค่รู้เวลามันมีข้อบกพร่องใหญ่ๆ เช่นงานก่อสร้างระดับบรรลัยการช่างเท่านั้น ระดับแค่ซึมแค่นั้นมันดูไม่ออก ซึ่งผมมองว่าแค่นั้นเราอาจจะแค่สาดน้ำหรือเปิดน้ำทิ้งไว้ก็พอ ไม่ต้องถึงขนาดขังไว้เป็นชั่วโมง แต่ถ้า developer คุณเป็นเจ้าเล็ก ทำไปเถอะครับ ตามเค้ากลับมาทำวันหลังยากมาก หรือเวลาคุณต้องเรียกเค้าไม่ก็ปิดบริษัทหรือเจ๊งไปแล้ว

ดังนั้นอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้อาจจะต้องเตรียม ยืม หรือเช่า อุปกรณ์บางตัวแพง ผมคิดว่าไม่คุ้มที่จะซื้อ เช่นเครื่องตรวจความชื้น มักใช้กับพวกผนัง หรือฝ้า เคสผมคือน้ำเข้าจากชิ้นส่วนผนังอาคารสำเร็จรูป ผมรู้ได้จากการเรียนและปัญหาที่เกิดจริง จึงมีการบอก concern ไปทางเช้าไว้ก่อนแล้ว
ทีมก็สำคัญ ผมไม่สามารถทำได้คนเดียวทั้งหมด เพราะว่าการตรวจห้องมันเหนื่อยนะ และอาการเหนื่อยของคุณมันจะทำให้คุณเริ่มมองข้ามจุดเล็กๆไปในที่สุด การมีอีกตาหรือคนช่วยทำจากอีกด้านเพื่อช่วยเป็น audit ก็จะดีกว่าการทำไปพร้อมๆกันทีละห้อง ประมาณว่าช่วยกันตรวจงานและ discuss กันทำไมถึงไม่ให้ผ่านจุดนี้


วิธีการตรวจก็อย่างที่บอกก่อนหน้าเลย ถ้าทำไปพร้อมกันทีละห้องก็จะได้ผลลัพท์แบบนึง ถ้าทำแยกแล้วมาตรวจ รีวิวอีกรอบก็จะได้แบบนึง ผมชอบแบบสองมากกว่า แต่ว่าผมไม่ได้มาทำทีหลังทีเดียว ผมกลับมา review as a team อีกทีหลังจากเสร็จห้องแรก เพื่อปรับ Tune มุมมอง มาตรฐานกัน และอีกอย่างเพื่ออุดช่องว่างของแต่ละคนด้วย แต่ใครถนัดหรืออยากลองแบบไหนก็แล้วแต่เลย วิธีการที่ผมทำนี้ได้มาจากการประยุกต์ Design thinking และ Scrumใน Software design and development อย่างละนิดละหน่อย



5. ทำการบ้านเรื่องการทำ Report และ Checklist เพื่อให้งานกับเราและง่ายกับช่างที่จะมาแก้

เรื่องที่ต่างหากที่อยากจะ highligt ที่สุด ฮ่าๆ เพราะว่าผมเป็นคนขี้เกียจและงก การที่มาทำงานที่เราคิดว่าไม่ใช่งานของเราผมไม่อยากจะมาเสียเวลาทำ อย่างที่เกรินไปผมไม่เห็นด้วยแต่แรกว่าการตรวจเป็นงานเรา แต่ต้องทำเพราะว่าจะปกป้องผลประโยชน์ที่เราควรจะได้ห้องที่มีมาตรฐาน ให้คุ้มกับเงินที่เราเสียไปโดยใช้ Effort น้อยที่สุด ผมเคยเห็นตรวจบ้านใช้กล้องที่เป็นกล้องจริงๆ และก็ทำ report แบบ Full-scale แต่นั้นเป้นเพราะว่าเค้าถูกจ้าง ผมจะแค่ทำแค่ MVR หรือ Minimun Viable Report ส่งให้ช่างเท่านั้น




MVR (Minimum viable report)

เป็นไอเดียที่ได้มาจาก Minimum Viable Product (MVP)หรือ a product with enough features to attract early-adopter customers and validate a product idea.

ส่วนผมแปลแบบโง่ๆคือ report ที่เพียงพอต่อการสื่อสารและทดสอบความเข้าใจระหว่าผมกับช่าง เพื่อให้ออกถึงมือช่างและ provide feedback ให้ช่างเอาไปปรับแก้ (ไม่ใช่ Get feedback จากช่างนะ) ผมเลย ideate ว่าการบันทึกแบบไหนเข้าใจได้ง่ายและเร็วสุด รวมถึงการสรุปและส่งมอบ

iPad + Apple Pencil

เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วและสามารถทั้งถ่ายรูปและเขียนได้เลย แต่การเขียนลงบนภาพถ่ายกล้องโดยตรงค่อนข้างกดเยอะนิดนึงและ Feature การวาดเขียน (Annotation) ของ apple หลังๆก็ไม่ได้ดีอย่างที่ผมหวังไว้




Software ในการบันทึก

หรือ App อื่น ๆเช่น Goodnote หรือ Notability ก็ทำได้เยอะเกินไปทำให้เราต้อง focus กับ Format ของเอกสารเร็วเกินไปทำให้งานช้าได้ (Potential blocker) ผมเลยพยายามหา Software ที่จดหรือวาดได้โดยที่ยังไม่ต้องสนเรือง Format เอกสารและต้องไม่ click เยอะเกินไปหรือปุ่มแต่ละปุ่มห่างกันเกินไป จนมาเจอ Note ที่เป็น Native app ของ Apple

ถ้าคุณถ่ายรูปกับ Note มันก็จะเรียงรูปตามเวลาที่ถายให้เลยว่าอันไหนถ่ายก่อนถ่ายหลัง และสามารถกดเพื่อเขียน วาด หรือวงรูปได้ ที่สำคัฯคือคุณเขียน comment ลงไปได้เลย ทำให้เหมาะกับงานภาคสนามที่การพิมพ์ไม่ค่อย pratical Note ยังให้คุณย้ายรูปไปมาๆได้กรณีที่คุณมาเจอเรื่องใหม่ที่หลัง ทำให้คุณย้อนกลับไปแก้ได้ตลอดโดยที่ไม่ทำลาย sequene การเดินของคุณจากผนังด้านนึงไปอีกด้าน หรือห้องนึงไปอีกห้องนึง เพราะผมเจอมาหน้างานเลย ถ้าถ่ายรูปเลยมันจะตามเวลา ถ่ายทีหลังนานๆภาพมันก็จะกระโดดไปอยู่กับห้องอื่นๆ หรือพื้นที่อื่นๆ




วิธีการตรวจ

อันนี้ไม่มีเลยในตอนแรก ลองทำ Sprint แรก เอ้ย ห้องแรกแล้วก็มาทำ Retrospective กัน ซึ่ง รอบแรกเราทำพร้อมกันห้องเดียวแล้วพบว่าช้าไม่ effective งานอาจจะไม่ทันเวลาที่มี เลยเปลี่ยนแผนในห้องที่สองเป็นแยกทำแต่ใช้ Post it เป็นตัวกำกับจุดที่ต้องแก้ไข และเขียนNote เท่าที่จำเป็นเพราะว่าของจริง ความไม่เรียบร้อยมันฟ้องอยู่แล้ว ยกเว้นต้องดูด้วยวิธีพิเศษ เช่นส่องแสง หรือลองเปิดปิดประตู





การจัดแบ่งและแนวทางการเดิน

ผมแยก Note เป็นห้องๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และยังสามารถเป็น album หรือ checklist ได้ด้วย ทำให้ภาพไม่ประปนกัน ตัวอย่างที่ผมทำคือเริ่มจากทางเข้า และไปที่ครัวที่บังเอิญอยู่ติดทางเข้า สามารถที่เลือกครัวเพราะว่าเป็นห้องที่มีงานระบบและการตกแต่ง Unique ที่สุด บางคนอาจจะเริ่มจากห้องน้ำซึ่งไม่ผิด โดยเฉพาะกับคนที่จะทดสอบการรั่วซึมของกระเบื้องหรือท่อโดยการขังน้ำไว้ แต่ผมเลือกครัวเพราะว่าไม่เครียดและไม่สบายจนเกินไป จากนั้นก็ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำห้องนั่งเล่นแล้วค่อยแยกไปพื้นที่ห้องนอนแต่ละห้อง



การเดิน เพื่อให้ไม่งง ควรเดินไปทางเดียวกันทุกห้องเช่นตามเข็มนาฬิกา หรือซ้ายไปขวา วิธีนี้ง่ายต่อการสื่อสารและงานต่อการกลับมาทำต่อในคอมโดยไม่หลงทิศ
การเริ่มผนังแต่ละด้าน อยากให้ถ่ายภาพรวมก่อน แล้วค่อยเจาะเป็น Area หรือถ้าภาพใน Closeup มากๆผมจะมีเขียนสิ่งของอ้างอิงทิศทางไว้ในรูปเช่น ประตู สวิตช์










การรีวิวและกลับมาแก้ไขเพิ่มเติม

หลังจากที่จบคนละห้อง หรือคนละสองห้อง หรืออะไรก็แล้วแต่ก็จะกลับมา 
Review และ highlight รวมถึงแชร์กันเร็วๆ และเสนอแนวทางการแก้ไข Riskต่างๆ หรือ backlog ถ้ามีการข้ามหรือดูผ่านๆและต้องกลับมาดูอีกรอบนึง ซึ่งการใช้ Note ของ Apple มันง่ายอยู่แล้ว





การแชร์และการทำ Realtime Collaboration

อันนี้ไม่ได้ทำ เพราะว่าเอา iPad ไปเครื่องเดียว และตอนแรกไม่ได้มั่นใจว่าจะตรวจเอง แต่ช่างให้กำลังใจว่าเจ้าของห้องก็สามารถตรวจห้องเองได้ไม่ยาก แต่ช่างอาจจะไม่รู้ว่าช่างกำลังคุยกับคนที่เรียน BA +Master in Arch พร้อมประสบการณ์การทำงานใน Site คุยกับช่างกว่า 10 ปี ผมเลยไม่รู้ว่างานนี้จะยากที่ใคร

ย้อนกลับมาประเด็นคือ Note มันสามารถสร้างและแชร์ collaboration กันได้ Realtime แต่แค่ผมไม่ได้ทำเท่านั้น ถ้าเกิดใครอยากทำก็ลองทำได้ แต่ผมว่าต้องกลับมาสื่อสารกันหน่อยว่าเราวางแนวทางไว้ยังไง คนที่มาช่วยจะได้ไม่งง




ขั้นสุดท้าย การเตรียมและการ Share Report

อันนี้เป็นขั้นตอนที่ปวดหัวอันนึงที่ตอนทำผมยังไม่ได้คิด การใช้ Note มันไม่สามารถสร้าง Template หรือติด Tag หรือ Run Issue Id/number ได้ แต่อย่างที่บอกว่าผมไม่ได้ตั้งใจจะทำ report ให้ดีที่สุด ผมจะทำแค่ report แบบ MVR เท่านั้น ดังนั้นผมจะใช้ รูปเป็น issue ID ไปเลยสำหรับการ reference คุยกับช่าง และมันก็มีความเป็นไปว่า Deflect จุดนึงอาจจะอยู่ในหลาย issue ID หรือหลายรูปนั้นเเอง ถ้าอยากให้ผมทำ report ให้ดีผมว่า Developer ต้องจ่าย Compensation ให้ผมแล้วหล่ะผมถึงจะยอมทำให้

จากการที่ Note ไม่สามารถสร้าง template ได้ ผมเลยต้องไปตั้งชื่อ ไฟล์ Note ดีๆซึ่งผมแยกเป็นห้องอยู่แล้ว แล้วการสั่ง export เป็น PDF มันสามารถทำ Header Footer ที่มีชื่อห้องรวมถึง page number ได้ ผมก็แต่ทำหน้าปก, Table of content เท่านั้น ผมยังใจดีทำหน้าว่างปล่าวเพื่อสร้าง Mental Break ให้กับช่างอีกนะ ไม่รู้เค้าจะรู้หรือปล่าว จากนั้นก็แค่รวมไฟล์ห้องต่างๆตามลำดับเท่านั้น






ขนาดของ Report

เนื่องจาก Content จะเป็นรูปส่วนใหญ่ทำให้ไฟล์มันน่าจะเป็น GB เลยในตอนแรก ต้องหาโปรแกรมบีบอัด PDF ไฟล์ขนในที่สุดเหลือไมเกิน 10 mb และสามารถส่งทางอีเมลได้







Reflection

  • ผมคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและให้เรา Focus กับ Task ไม่ใช้ process หรือ tool แต่ปัญหาคือเรื่องลายมือผมมันแย่มาก เรียกว่าอ่านยากเลย ดังนั้นพยายามเขียนให้สั้นๆ และชัดที่สุด ถ้าต้องแก้ไขต้องทำตั้งแต่ยังเป็นรูปอยู่ใน Note บน iPad ไม่ใช่ย้านมาทำที่อื่นแล้ว เพราะว่าถ้ายังอยู่ที่เครื่องที่iPad เราจะเข้าไปแก้ไข annotation หรือสิ่งที่เราวงหรือเขียนได้อยู่ ดังนัน้ ถ้าทำให้ดีประมาณนึงตั้งแต่ต้นจะดีที่สุด แล้วค่อยมา note เพิ่มเติมทีหลัง

  • อีกเรื่องเป็นเรืองของการจัดหน้า การจัดหน้าบน Note เรียกว่าทำไม่ได้เลยดีกว่า ผมเลยต้อง copy มาทำ บน MS Word บางส่วน แต่สุดท้ายก็เลิกไปเพราะมันเสียเวลาในการจัด ก็เลยส่งไปตามที่ Note export ได้มา ดีที่ผมพิมพ์เพิ่มไม่เยอะ ใช้การเขียนบนรูปส่วนใหญ่ เลยไม่น่าจะมีผลกระทบเช่น “รูปอยู่หน้านึงข้อความอยู่อีกหน้า” มากนัก

จบ ผมส่ง report ไปวันก่อน และคิดว่าช่างน่าจะเริ่มทำได้เร็วๆนี้ 
สรุปเวลาในการตรวจห้อง 64 ตรม ประมาณ 4 ชม รวมพัก ทำ report พร้อมกันไปเลย 
เวลาหาวิธีจัดระเบียบ report รวมถึงทำเป็น PDF อีก2-3ชม. เพราะว่าลองผิดลองถูกกับ Word, Excel, Pages ดีที่ไม่ไปลองทำใน Notion ไม่งั้นจะนานกว่านี้





 

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form