Design Checklist สำหรับการออกแบบประสบการณ์ทำงานที่ดีกับ Developer


การออกแบบ UX และ UI ผู้ใช้งานเราไม่ได้มีแต่เพียง users เท่านั้น ทืมงานโดยเฉพาะ developer ก็เป็นหนึ่งใน user ของที่จะนำผลงานออกแบบของเราไป จาก Figma หรือ Tools อื่นไป produce เป็นงานจริง ดังนั้นการสื่อสารการออกแบบระหว่าง Designers และ Dev จึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน และนี่คือ Design Checklist สำหรับการออกแบบประสบการณ์ทำงานที่ดีกับ Developer

 

1. วางแผนการออกแบบข้ามแพลตฟอร์ม



  • แพลตฟอร์มใดบ้างที่อยู่ในขอบเขต?
    ตัดสินใจว่าออกแบบของคุณจะทำงานบนแพลตฟอร์มใดบ้าง เช่น มือถือ, เดสก์ท็อป, อุปกรณ์สวมใส่, iOS, Android เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังออกแบบแอปธนาคาร คุณอาจต้องรองรับทั้งมือถือ (iOS และ Android) และเดสก์ท็อป

  • จะใช้ Breakpoints ไหนบ้าง?
    นี่คือขนาดหน้าจอที่การออกแบบของคุณจะเปลี่ยนรูปแบบ เช่น เว็บไซต์อาจมีลักษณะต่างกันระหว่างแท็บเล็ตกับโทรศัพท์

  • จะใช้เทคโนโลยีใดสำหรับ UI?
    เลือกเครื่องมือหรือ Framework ที่จะใช้สำหรับแอปมือถือ เช่น React Native ที่สามารถใช้งานได้ทั้ง iOS และ Android
    เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการสร้าง Front-end เช่น Bootstrap สำหรับการออกแบบที่ตอบสนองต่อหน้าจอต่างๆ


2. กำหนดความเป็นไปได้ทางเทคนิค



  • ข้อจำกัดทางเทคนิคมีอะไรบ้าง?
    เข้าใจว่าเทคโนโลยีสามารถทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง เช่น บางแอนิเมชันอาจทำให้แอปช้าลง การแสดงข้อมูลบางอย่างอาจจะมีความยุ่งยากหรือ dependencies สูง

  • ข้อมูลจาก Back-end ที่สามารถใช้ได้มีอะไรบ้าง?
    รู้ว่าสามารถดึงหรือใช้ข้อมูลอะไรจาก Server หรือระบบหลังบ้านอะไรได้บ้าง เซิร์ฟเวอร์สามารถให้ได้ เช่น ถ้าคุณกำลังสร้างแอปพยากรณ์อากาศ หรือแอปธนาคาร คุณสามารถดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ไหม? แอปธนาคารจะโดยเฉพาะ Corporate Banking มักจะมีเงื่อนที่ไขที่ต้องรอ transaction settle วันต่อวัน

  • มีไลบรารี JS/React อะไรบ้างที่ใช้ได้?
    ใช้ไลบรารีที่มีอยู่แล้วเพื่อประหยัดเวลา เช่น ใช้ไลบรารี Date Picker แทนการเขียนโค้ดเอง ซึงเป็น Library ของ Dev ไม่ใช่ Figma Library หรือ DLS

  • แสดงข้อมูลใน UI ได้เร็วแค่ไหน?
    ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ผู้ใช้คาดหวังว่าผลการค้นหาควรปรากฏเกือบทันที ถ้าเกิดต้องใช้เวลาในการโหลดนานที่ปกติ เราจำเป็นจะต้องขึ้นถึงประสบการณ์ในการรอระหว่างโหลดด้วย

  • กระบวนการ Back-end/Front-end สามารถขยายหรือ Scaleได้ไหมในอนาคต?
    ตรวจสอบว่าการออกแบบของคุณสามารถรองรับการเติบโตได้ เช่น ถ้าแอปเป็นที่นิยม ระบบหลังบ้านสามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้หรือไม่ หรือแม้กระทั้งคิดถึงกลุ่มผุ้ใช้งาน Persona อื่นๆที่จะทำรองรับมีหลัง?



3. Semantic Structure



  • โครงสร้าง HTML5
    ใช้แท็ก HTML ที่ถูกต้อง เช่น <header> สำหรับส่วนหัวของหน้า <nav> สำหรับลิงก์นำทาง

  • ลำดับชั้นของหัวข้อ
    จัดระเบียบหัวข้ออย่างถูกต้อง เช่น ใช้ <h1> สำหรับหัวข้อหลัก <h2> สำหรับหัวข้อรอง ฯลฯ ซึ่งช่วยทั้งผู้ใช้และ Search engine

  • การปรับแต่ง SEO
    ทำให้การออกแบบของคุณง่ายต่อการค้นหาในSearch engineเช่น ใช้ Meta Tag ที่ถูกต้อง

  • หลีกเลี่ยงการใช้กลยุทธ์ Dark SEO pattern
    อย่าหลอกลวง Search engine ด้วยข้อความที่ซ่อนอยู่หรือลิงก์ที่หลอกลวง แม้ว่าจะได้ผลในระยะสั้น แต่มันไม่ยั่งยืน ผู้ใช้จะเลิกเชื่อถือคุณ




4. พิจารณาสถานะทั้งหมด



  • Empty States
    ออกแบบสิ่งที่ผู้ใช้จะเห็นเมื่อไม่มีเนื้อหา เช่น หน้ารถเข็นที่แสดง "รถเข็นของคุณว่างเปล่า" เมื่อยังไม่มีการเพิ่มสินค้า

  • สถานะโหลด/ Loading States
    แสดงสปินเนอร์หรือ Loading barในขณะที่แอปกำลังดึงข้อมูลมาแสดง

  • สถานะผิดพลาด/Error States
    แสดงข้อความที่ช่วยเหลือเมื่อมีบางอย่างผิดพลาด เช่น "การเชื่อมต่อขาด กรุณาลองใหม่" หรือ "ข้อมูลไม่ถูกต้อง" พยายามให้ message ออกไปทางให้ความช่วยเหลือไม่ใช่กล่าวโทษ เช่น "คุณใส่ข้อมูลผิดพลาด"

  • สถานะอื่นๆ ที่เป็นไปได้กับ Content และ Interaction
    วางแผนสำหรับสถานการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อฟอร์ยังกรอกไม่ครบหรือรูปภาพไม่โหลด




5. ออกแบบสำหรับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงได้ (Variable Content)



  • รูปแบบของข้อความใน Variation ต่างๆ
    วางแผนสำหรับความยาวของข้อความที่ต่างกัน เช่น คำอธิบายสินค้าอาจสั้นหรือยาว ดังนั้นการออกแบบของคุณต้องปรับตัวได้

  • การแสดงเนื้อหาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
    แสดงเนื้อหาน้อยลงในตอนแรกและเปิดเผยมากขึ้นตามความจำเป็น  เช่น ลิงก์ "อ่านเพิ่มเติม" หรือใช้การแสดงเนื้อเป็นส่วนๆ (Progressive discolure)

  • การตัดข้อความหรือตัดคำ
    จัดการกับข้อความยาวโดยการตัดด้วยจุดไข่ปลา เช่น “นี่คือคำอธิบายสินค้าที่...”

  • การจัดวางที่ปรับตัวได้
    ตรวจสอบว่าการออกแบบของคุณทำงานได้ทั้งเมื่อเนื้อหามากหรือน้อย เช่น Grid ของสินค้าโดยเฉพาะในตารางที่สามารถขยายหรือหดได้




6. ตกลงเรื่องการตั้งชื่อ (Naming Convention)



  • ตัวแปร CSS
    กำหนดมาตรฐานการตั้งชื่อในโค้ด เช่น ใช้ --main-color สำหรับสีหลัก

  • ชื่อไฟล์ ชื่อคอมโพเนนต์
    ใช้ชื่อไฟล์ที่เข้าใจได้ หรืออ้างอิงได้ เช่น logo.png แทน IMG1234.png และมีชื่อคอมโพเนนต์ UI อย่างชัดเจน เช่น Header, Footer, Card

  • ชื่อโฟลเดอร์
    จัดระเบียบโปรเจกต์ของคุณด้วยชื่อโฟลเดอร์ที่ชัดเจน เช่น images/, scripts/, และ styles/
เรื่องเหล่านี้ควรจะมีการตกลงกันในทีมทั้ง Designers และ Devs บางทีก็รวมไปถึง Testers ด้วย





7. สร้าง Placeholder



  • Avatar(รูปผู้ใช้)
    ใช้รูปภาพเริ่มต้นเมื่อไม่มีรูปภาพของผู้ใช้

  • Placeholder สำหรับรูปภาพ
    แสดงรูปภาพทั่วไปหากยังไม่มีการโหลดรูปภาพจริง

  • พื้นหลัง หรือ Theme เริ่มต้น
    ใช้พื้นหลังที่เรียบง่ายจนกว่าจะปรากฏเนื้อหาหลัก



8. กำหนด CSS unit และการปรับขนาด



  • ขนาดฟอนต์และฐานของฟอนต์
    ตัดสินใจเรื่องขนาดข้อความและระยะห่างที่สม่ำเสมอ เช่น ใช้ 16px เป็นขนาดฟอนต์พื้นฐาน

  • Absolute แลพ Relative ใน CSS unit แ
    เลือกระยะคงที่ (เช่น px) หรือขนาดสัมพัทธ์/Relation (เช่น em, %) 

  • การปรับขนาด (การซูมเบราว์เซอร์)
    ตรวจสอบว่าการออกแบบของคุณขยายได้ดีเมื่อผู้ใช้ซูมเข้า/ออก

  • การรองรับเบราว์เซอร์
    ทดสอบการออกแบบของคุณในเบราว์เซอร์ต่างๆ เช่น Chrome, Firefox, Safari เป็นต้น


9. กำหนดรูปแบบไฟล์



  • รูปภาพ, รูปไอคอน
    ตัดสินใจเรื่องประเภทไฟล์ที่คุณจะใช้ เช่น PNG สำหรับรูปภาพ และ SVG สำหรับไอคอน

  • กลไกการสตรีม
    วิดีโอหรือเสียงจะเล่นในแอปอย่างไร? เช่น ใช้ MP4 สำหรับการสตรีมวิดีโอ

  • Optimization
    บีบอัดรูปภาพและไฟล์เพื่อโหลดได้เร็วขึ้นโดยไม่สูญเสียคุณภาพ



10. ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐาน A11Y



  • ปรับแต่งสำหรับระดับ A/AA/AAA
    ตรวจสอบว่าออกแบบของคุณสามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้พิการ โดยเฉพาะถ้าเป็น app ที่ใช้งานโดยกลุ่มผู้ใช้งานกว้างๆ เช่น app ธนาคาร หรือแอพเพื่อประชาชนทั่วไป

  • ทำการตรวจสอบ A11Y
    ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่าการออกแบบของคุณเป็นไปตามมาตรฐานการเข้าถึง

  • ทดสอบสำหรับการสูญเสียการได้ยิน การมองเห็น และการรับรู้
    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้ที่มีความบกพร่องต่างๆ สามารถใช้แอปของคุณได้ เช่น การเพิ่มคำบรรยายในวิดีโอหรือการรองรับเครื่องมืออ่านหน้าจอ

  • ปรับเนื้อหาและการออกแบบให้สอดคล้องกับท้องถิ่น
    ปรับการออกแบบของคุณให้สอดคล้องกับภาษาหรือวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่น การเปลี่ยนทิศทางของข้อความสำหรับภาษาอาหรับ



11. อธิบาย Microinteractions



  • กำหนด CSS transitions
    วางแผนอนิเมชันเล็กๆ เช่น ปุ่มที่เปลี่ยนสีเมื่อวางเมาส์เหนือ

  • ความแตกต่างระหว่างประสบการณ์บนเดสก์ท็อปและหน้าจอสัมผัสบนมือถือ
    จำไว้ว่าผู้ใช้มือถือแตะหน้าจอแทนการคลิก ดังนั้นออกแบบให้เหมาะสม

  • สร้างต้นแบบ/Prototype สำหรับทดสอบ Interaction ที่ซับซ้อน
    ทดสอบว่าส่วนที่ต้องโต้ตอบทำงานอย่างไรก่อนที่จะสร้างจริง เช่น การจำลองการลากและวาง หรือการถ่ายรูปเอกสารเพื่อแนบการสมัครผ่านแอป

  • Technical feasibility of the interaction
    ตรวจสอบว่า interaction ที่คุณออกแบบสามารถสร้างได้จริงโดยการคุยกับ Dev ก่อน โดยเราอาจใช้เครื่องมือ Framer หรือ Figma เพื่อจำลองและทดสอบ Interaction



Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form