กล้าลุยไม่กลัวล้ม

เป็นเรื่องย่อที่ผมอ่านและย่อตามมาอีกที



การงานไม่เพียงจะสร้างความั่งคั่ง และอำนาจในการเลือกใช้ชีวิตแล้ว เราควรดูว่างานที่เราทำประโยน์เหมาะสมกับเราหรือปล่าว ไม่ใช่ทำงานจนร่ำรวยพอหยุดมันก็หายไป ไม่มีอะไรพัฒนาอย่างยั่งยืนเสียดี

การงานที่ดีเราต้องได้เรียนรู้
     - การเสริมความรู้เชิงเทคนิค
     - การสร้างเครือข่าน (network)
     - สร้างค่านิยม (Value)

สร้าง Value ของสินค้าจากแนวคิดว่าถ้าเป็นเรา เราจะยินดีจ่ายที่เท่าไร ก็ตั้งราคาเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงต้นทุน เมื่อไรที่เราสามารถเป็นผู้กำหนดตรงนี้ได้เราจะเป็นผู้ครองตลาด (โดยทั่วไปธุกิจอาหารจะอยู่ที่ 30%)

ความรักในสิ่งที่ทำ เป็นแรงผลักดันให้เราทุ่มเทมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะคนเราต้องการการเยียวยาความ การพิสูจน์ และความท้ายทาย ยิ่งเราสำเร็จเราจะได้รับการเยียวยากมากเท่าที่เราตั้งไว้

Step การเริมต้นง่าย 
     -  คิดให้แตกต่าง
     - หาคนมาช่วยทำ
     - วางวงเงิน และแผนการตลาด

ไปทำเงินกันเถอะ
มีแนวคิดของการทำเงินในรูปแบบต่างๆ มาดูสิว่าคุณเป็นแบบไหน
     - หนึ่ง การใช้แรงงานเพื่อรับค่าตอบแทน (เป็นลูกจ้าง)
     - สอง การแบ่งเงินมาลงทุน รอดอกผล (เป็นนักลงทุน)
     - สาม การใช้เงินบวกกับความคิดมาขยายผล (เป็น enterpreneur) : ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการบ้านเรามีข้อจำกัดในแง่ที่ว่ามักจะใช้เงินตัวเอง และใช้ความคิดของผู้อื่น (เห็นใครทำอะไรทำตาม)
     - สี่ การใช้เงิน (คนอื่น) บวกกับความคิดสร้างสรรค์ (ของตัวเอง) : สามารถผูกขาดจากตลาดได้

จากประสบการณ์มีผู้ใหญ่หลายคนที่พร้อมจะให้เงินทุนสนับสนุน เพราะเค้าก็ต้องการขยายธุกรกิจ หรือผลกำไรจากเงินเงินสดเค้าเหมือนกัน จงใช้ประโยชน์จากมันให่ฉลาดพอ
ขอบคุณ ถ้าหากจะล้มเหลว
เปลี่ยนจากคำถามว่า “ฉันจะหาเงินได้อย่างไร” เป็น “ฉันจะทำอะไรให้ชาวบ้านได้บ้าง” จงทำทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมา และสบายใจ
 
การลงทุนเริ่มแรกมันง่ายและจุดที่จะยากคือการขยายกิจการซึ่งต้องใช้ทุนสูง ในวงการนี้ไม่ต้องกลัวคำว่าล้มเหลง เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญของวัฒนธรรมการ ”ก่อตั้ง” ดังนั้นจึงต้องมีความกล้าไม่มีความกลัว

การทำธุรกิจต้อง สามารถทำซ้ำและ ขยายขนาดของตลาดได้ ในวงการธุรกิจ Start Up 
จงขยันให้ถูกที่ ในขณะที่กล้าเสี่ยงแต่ในใจจงเผื่อทางถอยให้ตัวเองไว้ด้วย ความอึดที่ใช้ในการทำงานไม่ได้มีแค่ความอดทนในชั่วโมงที่นั่งทำงาน แต่เป็นแรงกดดันที่จะเกิดขึ้นจวากครอบครัว หุ้นส่วน และเพื่อนร่วมงาน

นี่สิ....การเปลี่ยนแปลง
อย่าได้หลงไหลกับผลกำไร ทุกอย่างมีขึ้นมีลง จงรู้ว่าเมื่อไรควรขาย หรือควรปล่อยเมื่อเหมาะสม บางช่วงเวลาผลกำไรอาจจะตกลง หรือผิดคาดไป จงอย่าเสียใจเพราะการค้าขายมีได้และมีเสีย ให้คิดว่าที่ผ่านมาเราได้กำไรมาบ้างแล้ว

ไม่กลัวการที่จะพัฒนา ไม่กลัวการที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ไม่สะทกสะท้านกับการแข่งขัน

มันไม่ใช่ชัยชนะของผม มันคือชันะของเรา : Mentor
Mentor คือสิ่งสำคัญมาก ในระหว่าางที่เราจมไปกับสิ่งที่เราทำ ไม่ว่ามันจะดูดี หรือว่าดูไม่โอเค คนๆนี้จะบอกเราด้วยมุมมองอื่นที่เรานึกไม่ถึง จงเปิดใจ วางตัวเป็นกลาง และนำแนวคิดไปใช้อย่างเกิดประโยชน์

ตัวสั่น เมื่อเจอ....โอกาศ
โอกาศมาเรื่อย เพียงแต่เราจะเห็นมันไหม จะมองมันได้ไกลกว่าคนอื่นหรือปล่าว ถ้าเกิดทำแล้วผลเสียน้อยกว่า หรือใช้แรงงานไม่เยอะแล้วคุ้มที่จะทำ ก็จงทำ! เพราะโลกของเราไม่มีของเสีย อย่าเข้าใจผิด มันเพียงอยู่ผิดที่ผิดทางหรือว่าเรายังหาประโยชน์จากวิธีที่ใช้ไม่ได้เท่านั้น

มองวิธีแก้ปัญหา ไม่ใช่ตัวปัญหาและคุณจะไปได้ไกลกว่าคนอื่นอีกขั้นหนึ่ง อย่าเชื่องานวิจับตลาด

ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเรามีเงินทุนเราสามารถหาคนที่มีความสามารถที่เก่งกว่าได้เยอะแยะ ต้องสร้างตลาดขึ้นมาใหม่โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์

    - สิ่งที่เราทำอยู่ต้องทบทวนว่าดีไหม 
    - เสียเวลาหรือปล่าว 
    - มันจะได้กำไรไหม 
    - มีลูกค้าจะมาใช้บริการซ้ำบ่อยไหม 
    - อนาคตของตลาดระยะยาว

หลายคนเริ่มต้นธุรกิจจากพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ะเราต้องอ่านยุทธศาสตร์จะหา Blue ใน Red Ocean ได้อย่าางไร อะไรเป็นความแตกต่างที่จะทำให้เราไม่มีคู่แข่งในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันกันสูง


โลกของการลอกเลียนแบบ ไปไป มามา
ทุกวิธีคิดไม่ยั่งยืน ไม่ถูกโต้แย้งก็ถูกลอกเลียนแบบ
วิธีคิดแบบ สร้าง One Direction ทำให้ก็ได้ให้ลูกค้าคิดว่าอยากกินแล้วจะต้องมาที่ร้านนี้
ทำตัวให้เป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจนั้นอย่างแยกไม่ออก

องค์ประกอบของการชนะคือ ต้องกุมเทคโนโลยีบางอย่างในการผลิด และขนาดธุรกิจต้องใหญ่พอสมควร


ลุ้นระทึก...จุดอ่อน
จงอย่ามั่นใจจนเกินไป หรือว่าอดทนทำไปเรื่อยๆ ต้องเรียนรู้และปรับตัว อย่าทำตัวเหมือนมวยวัดที่ออกแรงเยอะ แต่ประสิทธิภาพน้อย
คิดแล้วอย่าทำคนเดียว หาเพื่อนคู่หูซะ 
มองตัวเองให้เป็น ให้รู้ว่าอยู่ตรงไหน

ทำ!!! 

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form