End of Daylight Saving Time

วันนี้ตื่นมาพบว่า นาฬิกา Analog และ Digital เดินไม่ตรงกัน
มันเป็นเพราะ Daylight saving time ได้สิ้นสุดลงแล้ว เวลาได้ถอยหลังให้เรา 1 ชั่วโมงก่อนจะต้องตื่นมาในเช้าวันใหม่

นาฬิกาที่เป็น digital ส่วนใหญ่มีการเชื่อมต่อกับ Internet และมีการปรับเปลี่ยนเองอัตโนมัติ และสิ่งที่ไม่เปลี่ยนและยังคงทำหน้าที่ของมันอย่างตรงไปตรงมาคือ นาฬิกาข้อมือเรือนเดียวจากไทย

ก่อนหน้า เช้าวันที่ 8 มีนาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่เริ่ม Daylight saving time ของ California ผมรู้สึก Biological clock รวนมาก เพราะปกติก็นอนน้อยอยู่แล้ว นาฬิกาทั้งสองระบบเกิดเหตุการณ์คล้ายกันคือ "เดินไม่ตรงกัน" จากเหตุการณ์นี้ ผมเหมือนกับโดนขโมยเวลาไปอย่างหน้าด้านๆ เพราะรู้อยู่ว่ามันจะมี แต่ไม่คิดว่าจะเป็นวันนี้

แต่วันนี้ผมได้เวลานั้นกลับมาแล้ว ถามว่าแล้วเราใช้เวลา 1 ชั่วโมงที่ได้กลับมานั้นอย่างเกิดประโยชน์แล้วหรือยัง ?



ข้อเท็จจริงจาก Daylight Saving Time
เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน(summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ[1] หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว
การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม[2] ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน[3]
ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก
ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปินส์

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form