11 แนวคิดที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ

เป็นการอ่านโดยบังเอิญเพราะคิดว่าเรื่องนี้น่าจะสอนกานเขียน Essay แบบใหม่ๆแต่ไม่ใช่ซะงั้นบทความจะมีทั้งหมด 101 บทความนี้เป็นตัวอย่าง 11 แนวคิดที่ผมคิดว่าน่าสนใจและบังเอิญสามารถอ่านได้




101 Essays That Will Change the Way You Think  เป็นหนังสือเกียวกับการปรับเปลี่ยนความคิดและส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนชีวิต และควบคุมอารมณ์โดยการเล่นกับการมอง 'ความสุข' ที่ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นผลลัพธ์ของการใช้ชีวิตอย่างมีสติและสมดุล?  Brianna Wiest ผู้เขียนหนังสือชวนให้เราลองคิดใหม่เกี่ยวกับชีวิต ด้วยแนวคิดที่ช่วยให้เราควบคุมตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมือนรากที่แข็งแรงจะนำไปสู่ต้นไม้ที่สมบูรณ์ 



บทที่ 1: รับผิดชอบต่อความรู้สึกและความคิดของคุณ


เราเติบโตมากับค่านิยมและวัฒนธรรมที่สอนให้เราคิดและรู้สึกในแบบที่สังคมกำหนด แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราต้องตระหนักว่าเราเป็นเจ้าของความคิดและอารมณ์ของตัวเอง ถ้ามีเรื่องแย่ ๆ เกิดขึ้น ลองมองให้ลึกขึ้นว่ามันมาจากไหน และอย่าปล่อยให้สิ่งเร้าภายนอกมากำหนดความรู้สึกของคุณ  

ตัวอย่าง:  เวลาเจอปัญหาในที่ทำงาน แทนที่จะโทษหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน ลองพิจารณาว่าตัวเราเองมีส่วนทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ แล้วแก้ไขจากจุดนั้น



บทที่ 2: สร้างกิจวัตรประจำวัน

บางคนคิดว่าชีวิตที่สนุกคือชีวิตที่ไร้กฎเกณฑ์ แต่จริง ๆ แล้ว คนที่ประสบความสำเร็จมักมี "สิ่งที่เค้าต้องทำประจำ (Routines)" ที่ทำให้พวกเขาโฟกัสและสงบ ลองหา Routines นั้นที่ทำให้คุณรู้สึกดี เข้าที่และโฟกัส เช่น ตื่นเช้ามาดื่มกาแฟเงียบ ๆ หรือจดบันทึกประจำวัน แล้วทำให้เป็นนิสัย

จิตใจของพวกเขาเข้าสู่สภาวะลื่นไหล (flow) ที่ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังทำงานอย่างต่อเนื่องและไม่ต้องใช้ความพยายามให้จดจำกิจวัตรเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณมีสมาธิและผ่อนคลาย แล้วรวมเข้าไปในกิจวัตรประจำวันของคุณ คุณจะพบความปลอดภัย กำจัดความวิตกกังวล และหยุดการผัดวันประกันพรุ่ง



บทที่ 3: เพิ่มความสามารถในการมีความสุข

เคยไหม เวลามีเรื่องดี ๆ เข้ามา กลับรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เหมือนว่าความสุขนี้มากเกินไป? นั่นเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของเราสร้างขีดจำกัดความสุขขึ้นมาเอง ลองฝึกขยายขอบเขตของมัน ด้วยการขอบคุณสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ฝึกสมาธิ และปล่อยให้ตัวเองรู้สึกดีโดยไม่ต้องรู้สึกผิด

ลองนึกถึงตอนที่คุณได้เลื่อนตำแหน่งหรือได้รับรางวัล แต่ไม่กล้าฉลองเต็มที่เพราะกลัวเพื่อนที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าจะรู้สึกไม่ดี นั่นเป็นเพราะจิตใต้สำนึกกำลังเตือนคุณถึงอันตรายของการโดดเด่น คุณกลายเป็นภัยคุกคามและเป้าหมาย แต่ทั้งหมดที่คุณต้องการคือการกลมกลืนไปกับคนอื่น

ลองยืดระยะเวลาของความรู้สึกดีๆ นั้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการมีความสุข ผ่านการทำสมาธิ การฝึกความกตัญญู และปล่อยให้มันเติบโต แม้ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด คุณก็ยังคงมีความสุขได้ มันเป็นทางเลือกที่มาจากการเป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดของตัวคุณเอง

ส่วนตัวรู้สึกไม่ค่อยเห็นด้วยหรือเข้าบทนี้ถ่องแท้เท่าไร  คนไทยเรามักพูดว่า "พอใจในสิ่งที่มี" หรือ "อย่าโลภมาก" ซึ่งผมว่าเป็นคำสอนที่ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็มันเป็นมุมมองจากตะวันตกกับเราก็ไม่สอดคล้องเท่าไร


บทที่ 4: ปล่อยให้จินตนาการเป็นอิสระ

ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การวาดรูป หรือแม้แต่การจัดโต๊ะทำงานให้ดูดี ลองปล่อยให้ตัวเองได้สร้างอะไรบางอย่างโดยไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะเข้าใจมันหรือไม่ ขอแค่คุณมีความสุขกับมันก็พอ

บรรพบุรุษนักล่าของเราแม้จะมีชีวิตที่ยากลำบาก แต่ก็ยังมีเวลาวาดภาพบนหินและในถ้ำ เช่นเดียวกับคนไทยโบราณที่แม้ต้องทำนาทำไร่หนัก แต่ก็ยังมีการแสดงออกทาง Aesthetics เช่น ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา หรือการแกะสลักที่สวยงาม


แม้มนุษย์เราช่างไร้เดียงสา พวกเขาพยายามสังเกตและตีความศิลปะไม่ว่าจะปรากฏที่ไหน ให้หาวิธีแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และฝึกฝน ไม่จำเป็นที่คนอื่นต้องเข้าใจหรือเห็นด้วย มันเพียงแค่ต้องเป็นกิจกรรมที่คุณสนุก ไม่ต้องตัดสิน


บทที่ 5: ทำให้ทักษะของคุณเป็นอัตโนมัติ

อยากให้สิ่งที่คุณทำเป็นธรรมชาติและง่ายเหมือนการหายใจไหม? มี 3 ขั้นตอนง่าย ๆ:
  • เรียนรู้ให้มากที่สุด
  • ฝึกฝนและจดบันทึกข้อผิดพลาด
  • ทำซ้ำ ๆ จนมันกลายเป็นเรื่องอัตโนมัติ
นึกถึงแม่ครัวไทยที่ทำอาหารโดยไม่ต้องวัดส่วนผสม หรือช่างตัดผมที่ตัดผมได้อย่างรวดเร็วและสวยงามโดยไม่ต้องคิดมาก ทักษะเหล่านี้มาจากการฝึกฝนจนเป็นธรรมชาติ


บทที่ 6: เพิ่มความมั่นใจ

ความมั่นใจไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการฝึกฝนความสามารถตนเอง (deliberately and purposefully) และการรักมันไว้ตามษามาตรฐานระดับสูงและความเชื่อของตัวเอง (Hold oneself to high moral and ethical standards that are driven by your own personal beliefs and sense of worth) เรียนรู้ที่จะปกป้องตัวเองโดยไม่ต้องป้องกันตัวจนเดินไป (Learn to defend oneself without being defensive.) ความกลัวเป็นต้นเหตุของการป้องกันตัวเกินไป ตอนคุณทำคุณอาจรู้สึกฝืนหรือไม่สบายใจทุกวัน แต่คุณจะรู้สึกสบายใจเมื่อรู้ว่าคุณมีอำนาจควบคุมชีวิตของคุณ


บทที่ 7: รักษาสมดุลระหว่างความหลงใหลและจุดประสงค์

Passion อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ระยะยาว เราต้องใช้เหตุผลมาช่วยกำกับ เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การตามล่าหาความสุขแบบฉับพลัน แต่คือการสร้างชีวิตที่มั่นคงและมีความหมาย ลองโฟกัสที่กระบวนการ มากกว่าผลลัพธ์ แล้วคุณจะพบความสุขระหว่างทาง


กุญแจสำคัญคือการรู้ว่าอะไรเริ่มต้นและอะไรสิ้นสุด ไม่ใช่การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ความหลงใหลอาจจุดประกาย  แต่เมื่อคุณก้าวหน้า มันจะจางหายไป ตรงนั้นแหละที่สมองเริ่มมีเหตุผล จุดประสงค์ที่ตั้งใจไว้จะช่วยให้คุณโฟกัส ระบุและได้รับทักษะที่จำเป็นในการทำงานประจำวัน และให้ความกล้าหาญที่จะชะลอความพึงพอใจทันที

ขอบคุณสำหรับความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ของคุณ ความมั่นคงและความอดทนของจุดประสงค์ของคุณมีน้ำหนักมากกว่าความต้องการที่จะเติมช่องว่างที่คุณอาจกำลังประสบอยู่ ค่านิยมร่วมกันยังสามารถทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลน่าพึงพอใจมากขึ้น


บทที่ 8: หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน

เคยซื้อเสื้อตัวใหม่แล้วรู้สึกว่า "ต้องซื้อรองเท้าคู่ใหม่มาจับคู่ด้วย" ไหม? นี่คือ Diderot Effect เราถูกล่อลวงให้ซื้อของเพิ่มเรื่อย ๆ ลองตั้งคำถามกับตัวเองทุกครั้งก่อนซื้อของว่า "ฉันต้องการมันจริง ๆ หรือแค่ถูกกระตุ้นให้ซื้อมัน?"

เดนิส ดิเดโร นักปรัชญาแห่งยุคฝรั่งเศส เขียนบทความที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการได้รับเสื้อคลุมสีแดงใหม่ทำให้เขาไม่มีความสุขและเป็นหนี้ ชั่วข้ามคืน ทรัพย์สินเก่าของเขาสูญเสียเสน่ห์ เขารีบไปเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับความใหม่ของเสื้อคลุมใหม่ของเขา

โฆษณา เพื่อน และคนดังพยายามโน้มน้าวให้เราซื้อของเพิ่มเติม การค้นหาความพึงพอใจในชีวิตวัตถุนิยมเป็นงานที่ยากมาก แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ให้โฟกัสที่สิ่งที่สำคัญจริงๆ



บทที่ 9: ฝึกการพักผ่อน

สมองต้องการเวลาพักเพื่อประมวลผลสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าการทำงานหนักตลอดเวลาจะนำไปสู่ความสำเร็จเสมอ การพักก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาตัวเองเช่นกัน เรียนรู้ที่จะพักผ่อนก่อน นอนให้เพียงพอ ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ และหาเวลาพักผ่อน คุณจะเหนื่อยจากการรักษาความโฟกัสคงที่ตลอดเวลา จิตใจของคุณประมวลผลเหตุการณ์ แก้ปัญหา และค้นพบวิธีแก้ปัญหาบ่อยขึ้นเมื่อคุณไม่ได้ใส่ใจ

จากการทำงาน กระบวนการนึงที่ผมคิดว่าเข้าท่าคือ Reflection เราหาจังหวะที่ดีเพื่อหยุดใครครวญดูว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรไป เราทำอะไรดีมาบ้าง และมองว่าเราควรหรือต้องเพิ่มเติมอะไร



บทที่ 10: อย่าตัดสิน

หลีกเลี่ยงการมีอคติ เข่นเวลามีดราม่าในโซเชียล ลองฟังทั้งสองฝ่ายก่อนตัดสิน เพราะเราไม่จำเป็นต้องเลือกข้าง ลองดูเหตุผลจากสองมุม อะไรที่มันไม่ชอบมาพากลมันมีเหตุผลของมันหล่ะ ไม่ว่าคุณจะชอบไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม เพราะคดีอาจมีพลิก!!




บทที่ 11: ปรับมุมมองของคุณ

ท้ายที่สุด เรียนรู้ที่จะใช้พลังของความคิดเชิงลบเพื่อประเมินและปรับปรุงชีวิตของคุณ ในขณะที่คุณไม่สามารถควบคุมสิ่งที่โลกมอบให้คุณ คุณสามารถเลือกวิธีการเล่นไพ่ในมือคุณได้ แทนที่จะต่อต้านความคิดเชิงลบ ใช้สถานการณ์เหล่านี้เพื่อพิจารณาว่าคุณจะจัดการกับมันอย่างไร จัดการกับความกลัวของคุณและปล่อยให้มันกลายเป็นแรงบันดาลใจ


การเปลี่ยนมุมมองของคุณจริงๆ จะเปลี่ยนวิธีที่คุณเข้าหาอุปสรรคทุกอย่างในชีวิตของคุณ คำพูดว่า "มองโลกในแง่ดี" แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธความจริงที่ไม่ดี แต่หมายถึงการเห็นโอกาสในทุกความท้าทาย





บทสรุป

ความเชื่อหลายอย่างที่คุณยึดถือว่าเป็นความจริงมีรากฐานในวัฒนธรรมที่โดดเด่นในพื้นที่ของคุณ คุณต้องเลิกสนใจเสียงรบกวนและพัฒนาความคิดอิสระถ้าคุณต้องการค้นพบทางของคุณ ใช้ความคิดของคุณอย่างมีสติเพื่อจัดลำดับความสำคัญ เมื่อคุณได้รับมุมมอง — หน้าต่างที่คุณมองทุกสิ่ง — สิ่งนี้จะเปลี่ยนวิธีที่คุณรู้สึกเกี่ยวกับหลายสิ่งจากจุดนี้ ง่ายขึ้น 

ผมเสียดายที่ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ First hand หรือด้วยตัวเองทั้งหมด เพราะว่าเล่มที่มีเป็นเล่มที่เป็นตัวอย่างที่มีเนื้อหาไม่มากนัก เดี่ยวคงไปหาอ่านเพิ่มเติมทางอื่นๆอีก  แต่มัมเป็นมุมมองตะวันตกนะ หลายๆอย่างผมอ่านก็ไม่ได้เห็นด้วยกับมัน ลองใช้ Challenge หรือวิธีการที่ได้จากหนังสือเล่มนี้มองอีกที

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form