สังขละบุรี [ตอนที่2] วิถีชีวิตลุ่มน้ำ 3 สาย


อากาศไม่ค่อยเย็นอย่างที่คิดเท่าไร และการลุกขึ้นจากที่นอนเพื่อให้ทันใส่บาตรพระเป็นเรื่องที่ผมไม่ถนัดเลย เนื่องจากปกติมาเที่ยว ผมจะค่อนข้างพักผ่อนเต็มที่อยู่แล้ว การออกจากเตียงแต่เช้าจึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์ของวันนี้


ร้านกาแฟร้านเดิมที่ฝากรถไว้ตอนเดินเล่นไปถ่ายรูปตั้งแต่เมื่อวาน 




ผมจูงจักรยานข้ามจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง เป็นที่สนใจของคนแถวๆนั้นเป็นจำนวนมาก เพราะแค่เดินก็ลำบากแล้วยังจะเอาจักรยานมาทำไมอีก จริงตอนแรกตั้งใจจะปั่นไปวัดวังก์วิเวการาม แห่งปัจจุบันเลย แต่คิดว่าโหดไปหน่อยก็เลยเปลี่ยนใจเป็นจูงจักรยานข้ามมา เผื่อหลังใส่บาตรจะมีอะไรแถวนั้นให้ปั่นก็ได้


ชุดอุปกรณ์ใส่บาตร  คนส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวมักจะข้ามฝั่งมาใส่บาตรอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้รู้สึกเข้าถึงการทำบุญที่แห่งนี้ แต่ความเป็นจริงแล้ว วัดที่นี่ไม่ได้มีการแบ่งหลักคำสอน หรือแบ่งเชื้อชาติมอญไทยแต่อย่างใด ทำฝั่งไหนก็เหมือนกัน  โดยการใส่บาตรพระจะเดินมาจากที่สูงเป็นแถวมาให้คนที่มาเที่ยวและชาวบ้านทำบุญกัน

หลังจากทำบุญก็จะมีร้านโจ๊กไม่กี่ร้าน ผมก็ไปแวะกินรองท้อง จิบชากาแฟเพื่อเอาเรี่ยวเอาแรงหน่อย

เรื่องน่าประทับใจ : เด็กมอญที่นั้นอาจจะเป็นผมปั่นจักรยานมาจากฝั่งโน้น จึงให้ความสนใจ บวกกับเรื่องของอยากจะขายของ(ใส่บาตร) จึงมาพูดคุยเล่นกับผม ผมเห็นเจ้าเด็กนี้มันน่ารักดี ก็เลยเดินไปซื้อของเค้ามาใส่บาตร เด็กก็เดินตามผมมาจุดที่รอใส่ด้วย น้องก็เล่นอยู่แถวนั้นไม่ไปไหนไกล ผมก็พูดคุยไปเรื่อยๆ

หลังจากใส่บาตรแล้วตอนไปกินผมก็ชวนไปกินโจ๊กด้วยกัน ตอนแรกน้องเค้าปฏิเสธ ผมก็เลยสั่งมากินก่อน และพอของผมมาก็ทำท่ากินยั่วนิดๆ และถามอีกครั้ง

"เอาหรือปล่าวน้อง ถ้าเอาก็ไปสั่งเลย พี่เลี้ยงเอง"

ไม่รอช้า ผมคงเดาออกว่าเด็กมันตื่นเช้ามันก็คงหิวหล่ะ ก็เลยนั่งกินด้วยกัน








วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529 

เจดีย์พุทธคยา เป็นเจดีย์ที่เกิดจากความคิดของหลวงพ่ออุตตะมะโดยจำลองมาจากเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 
องค์เจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง – ยาว 42 เมตร สูง 59 เมตร มีเสาเหล็ก 4 ทิศ จำนวน 16 ต้น ใช้อิฐมอญ ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 18 นิ้ว หนา 3 นิ้ว จำนวน 260,000 ก้อน

โดยสร้างจากเงินบริจาคจากทั้งที่เป็นเงินสด ทองคำ และวัสดุ ใช้แรงงาน มอญชาย-หญิง ในหมู่บ้านวังกะประมาณ 400 คน ร่วมมือกันปรับพื้นที่ สำหรับก่อสร้างและเผาอิฐมอญ 
ในปี พ.ศ.2532 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา 2 องค์ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารสีขาวใสอมเหลืองเป็นเงา บรรจุในผอบ 3 ชั้น ซึ่งหลวงพ่ออุตตะมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และฉัตรทองคำหนัก 400 บาทนำขึ้นไปประดิษฐานบนยอดเจดีย์


หลวงพ่ออุตตมะ เดิมชื่อ เอหม่อง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2453 ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า อดีตเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ตำบลหนองลู อำเภสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเป็นพระนักพัฒนาเป็นพระนักเดินธุดงค์กรรมฐาน และเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคตะวันตก เป็นที่เคารพเลื่อมใสทั้ง ไทย มอญ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และชาวไทยทั่วไปเป็นอย่างมาก  ท่านเป็นผู้สร้างและพัฒนาชุมชน บูรณะศาสนสถานต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง เช่น วัดสมเด็จ วัดศรีสุวรรณ เป็นต้น

สิ่งที่เห็นชัดเจนและเป็นที่รู้จักอีกอย่างหนึ่งคือ สะพานไม้เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ของกลุ่มชนซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

แต่ต่อมา วันที่ 18 ตุลาคม 2549 ท่านก็มรณะภาพไป











พระพุทธรูปหินอ่อน ในโบสถ์ของวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปหินอ่อน หรือชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะเหมือนพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลก หน้าตักกว้าง 5 ศอก หนัก 9 ตัน ทำมาจากหินอ่อนสีขาว เป็นพระพุทธรูปที่หลวงพ่ออุตตมะสร้างขึ้น 


โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ส่งรูปพระพุทธชินราชไปให้ช่างที่เมืองมัณฑะเลย์แกะสลัก เพราะหลวงพ่อต้องการพระหินอ่อนสีขาว ที่เลยเมืองมัณฑะเลย์ขึ้นไป จะมีภูเขาหินอ่อนสามารถนำมาทำพระประธานของวัดวังก์ได้ โดยตกลงกับช่างด้วยทองคำ เพราะไม่สะดวกที่จะเทียบอัตราระหว่างเงินพม่ากับเงินไทย ในสมัยนั้นราคาทองบาทละ 450 บาท หลวงพ่อตกลงแบ่งชำระเป็น 3 งวด 

งวดแรกเมื่อเริ่มสร้างในปี พ.ศ.2514 จ่ายทองหนัก 10 บาท 

งวดที่สองจ่ายเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เป็นทองหนัก 5 บาท 

งวดที่สามจ่ายเมื่อพระพุทธรู)เสร็จเรียบร้อยแล้ว จ่ายทองอีก 10 บาท 

ซึ่งพระพุทธรูปหินอ่อนเสร็จตั้งแต่เดือนเมษายน 2515 แต่รัฐบาลพม่าสั่งห้ามเคลื่อนย้าย หลวงพ่ออุตตมะจึงติดต่อลูกศิษย์ในประเทศพม่า ให้ขออนุญาตกรมการศาสนาของพม่าในปลายปี 2515 พระพุทธรูปหินอ่อนจึงออกเดินทาง การขนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะพระพุทธรูปมีขนาดองค์ที่ค่อนข้างใหญ่ การเดินทางต้องผ่านป่าและหมู่บ้านชายแดนและมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ในวันแรม 9 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ.2517 พระพุทธรูปหินอ่อนไม่ได้นำไปประดิษฐานในโบสถ์ตามเจตนาของหลวงพ่ออุตตมะในครั้งแรก เพราะว่าในโบสถ์มีพระประธาน ซึ่งเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์อัญเชิญมาแล้วองค์หนึ่ง หลวงพ่ออุตตมะจึงอัญเชิญไว้ในวิหารของวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งจะเห็นได้ในปัจจุบัน

ข้อมูลจาก http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/kanchanaburi/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html


ผมค่อนโชคดีที่วันนี้มีงานทำบุญใหญ่ มีคนไทยมอญ ที่นี่แต่งตัวในชุดแบบดั้งเดิมมาทำบุญค่อนข้างเยอะมาก แต่ผมก็ลืมถ่ายรูปเอาไว้ ทั้งๆที่เป็นโอกาศ

แต่ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าจะแก้ตัวใหม่

อีกส่วนหนึ่งที่เห็นแปลกดีก็คือเสาร์ของโบสถ์ของวัดนี้ทำจากแสตนเลาเงาเชียว ดู Modern นิดๆนะเนี่ย

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form