สังขละบุรี [ตอนแรก] วิถีชีวิตลุ่มน้ำ 3 สาย



สังขละบุรี การเดินทางที่มีเส้นทางแสนยากลำบากกว่าจะเข้าถึงได้ โดยเฉพาะกับรถที่มีช่วงล่างแข็งกระด้างอย่างผม แต่ทว่าจุดหมายปลายทางเมื่อถึงมันช่างคุ้มค่า แม้ผมจะคาดหวังเอาไว้ว่าอากาศที่นี่จะเย็นพอสมควร (ในช่วงปลายปีที่ผมไป) แต่ความจริงไม่ได้เย็นอย่างที่ควรจะเป็นเช่นนั้นสักเท่าไร




วัดจมน้ำ (วัดวังก์วิเวการาม) เป็นจุดที่ผมไปพักใกล้ๆ ซึ่งเป็นวัดเก่าของหลวงพ่อ อุตมะ และชาวมอญ ร่วมใจกันสร้างขึ้น เมื่อปี 2496 ตอนแรกผมไม่มีความรู้อะไรหรอกเกี่ยวกับวัดแห่งนี้ว่าทำไมจู่ๆมันถึงไปจมน้ำเช่นนั้น แต่ได้ฟังจากคนเรือที่พาผมไป แม้ราคา 200 บาท แลกกับช่วงเวลาสั้นๆไม่กี่ชั่วโมงในการพาชมวัดแห่งนี้ รวมถึงสะพานมอญที่ขณะที่ผมไปกำลังชำรุดและมีสะพานชั่วคราวอยู่ แต่ทริปนี้ก็มีความสุขใจเล็กๆอยู่เหมือนกัน


วัดจมน้ำ จมเพราะมนุษย์นี่แหละ แรกเริ่มผมคิดว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่มีธรรมชาติเค้ามาเกี่ยวข้อง แต่จากการได้ข้อมูลจากลุงที่พาเดินทางไปโดยเรือแล้ว พบว่าสาเหตุที่แท้จริงแล้วเกิดจากการสร้างเขื่อนวิชราลงกรณ์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งวัดวังก์วิเวการามนั้นได้ถูกย้ายไปสร้างใหม่ ณ ที่ที่เราเห็นในปัจจุบัน 

วัดจมน้ำนี้ยังเป็นที่ มาของชื่อสามประสบ คือแม่น้ำสามสายไหลมารวมกัน คือ แม่น้ำรันตี มาจาก ทุ่งใหญ่นเรศวร แม่น้ำบีคลี่ มาจาก ลำห้วยหลายสายทางตะวันออก ของสังขละ แม่น้ำซองกาเลีย มาจาก ประเทศพม่า 





เรือที่พาเราไปเที่ยวชมวัดจมน้ำ




มีข้อมูลจากในอินเตอร์เนตอ้างว่า วัดแห่งนี้จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลากว่า 20 กว่าปี ซึ่งนานจนเราอาจจะลืมไปแล้วว่าจะได้เห็นวัดนี้อีก 

ปกติแล้ว ช่วงฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงที่น้ำค่อนข้างน้อย ระดับน้ำจะลดลง ทำให้เราสามารถมองเห็นโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจนสามารถนั่งเรือไปเที่ยมชมได้ แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมด เหลือเพียงยอดโบสถ์อย่างในรูปให้เห็นเท่านั้น 

มีอยู่ปีหนึ่งที่ สังขละบุรี มีปัญหาภัยแล้ง และมีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกร และฝนตกลงมาช้ากว่าปกติ ทำให้นำในทะเลสาบที่ท่วมวัดวังก์วิเวการามเกินมากว่า 20 ปี ลดลงจนแห้งขอด ทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเมืองบาดาล สามารถเดินเข้าเยี่ยมชมโบสถ์ได้อย่างสะดวก

ด้านหนึ่งของโบสถ์จะมีพระพุทธรูปองค์เล็กๆตั้งอยู่ ผมเข้าใจว่าเอามาตั้งทีหลังเพื่อให้มีจุดสักการะ เป็นเชิงสัญลักษณ์ แต่เรือของผมไม่ได้พาผมมาในจุดนี้ ผมจึงไม่มีรูปถ่ายเลย


และนี่เป็นประวัตเล็กน้อยจาก http://www.edtguide.com/dontmiss/activity_detail.php?id=5969

ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน
     ในปี พ.ศ.2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ.2508
     วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ.2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2529 สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตร
     เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตร.ว.
     ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าซึ่งไม่มีบัตรประชาชน หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่ บ้าน






สะพานมอญ  (สะพานอุตตมานุสรณ์) เป็น "สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี "
ที่มา wikipedia

แต่ในช่วงที่ผมไปเยี่ยมสะพานมอญนี้ได้พังไปบางส่วนแล้ว จากข่าว

" ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสูแม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา"

คำบอกเล่าของลุงที่ขับเรือบอกว่า สะพานแห่งนี้เสียหายค่อนข้างบ่อย แต่ทุกๆครั้งชาวบ้านก็จะมาช่วยกันซ่อมแซม มีไม่กี่ครั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นเยอะมาก อย่างเช่นครั้งนี้ก็เป็นความเสียหายมากพอสมควรอยู่ เงินที่ใช้ในการซ่อมแซมมีไม่เพียงพอ ชาวบ้านจึงร่วมมือร่วมใจกันประกอบเป็นสะพานไม่ไผ่ขึ้นมา 

ผมสังเกตเห็น ความชำนาญพื้นถื่นของที่นี่อย่างหนึ่ง คือการประกอบแพไม้ไผ่ เค้าจึงเอาความชำนาญนี้ซึ่งเป็นจุดเด่นเพื่อทำสะพายชั่วคราวนี้


ความเสียหายของสะพายมอญ


ความสามารถของชาวบ้าน และความร่วมแรงรวมใจกัน จะสังเกตได้ว่าตรงกลางจะเป็นสะพายที่สูงขึ้น นั้นก็เพื่อที่ว่าจะให้เรือสามารถลอดผ่านไปมาได้นั่นเอง




ช่วงเย็นอากาศจะดีขึ้นหน่อย ไม่ร้อนเหมือนเมื่อกลางวันเหมาะกับการออกมาเดินเล่น ดูวิธีของชาวบ้านแถวๆนี้ ผมเอาจักรยานมาด้วย ตอนแรกตั้งใจจะข้ามสะพานมอญ(ชั่วคราว) เพื่อไปอีกฝั่งหนึ่ง แต่จากการพูดคุยกับร้านกาแฟ ที่บอกว่าพรุ่งนี้เช้าจะน่าสนใจกว่าตรงที่ว่าจะมีการตักบาตรตามประเพณีของคนที่นี่กัน 
ผมจึงเปลี่ยนแผนไปเดินเล่นที่ตลาด เพื่อหาอะไรกินกันแทน แต่ก่อนจะไปก็ขอเดินเก็บภาพสวยๆงามๆของที่นี่ตอนเย็นก่อนที่อะไรๆจะมืดหายไป .......




พรุ่งนี้จะพาไปตักบาตรกันครับ

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form