ความน่ากลัวของประชาพิจารณ์


ก่อนอื่นเรามาดูนิยามของประชาพิจารณ์ก่อนว่าแต่ละท่านพูดไว้ว่าอย่างไรกันบ้าง
ประชาพิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะต่างๆ และด้วยเหตุดังนั้นจึงเป็นการตัดสินใจ "ทางการเมือง" กล่าวคือกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของสังคม - ใครใช้และใช้อย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุดโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ประชาพิจารณ์ หมายถึง รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่มีผลกระทบชีวิตของประชาชนทุกคน การทำประชาพิจารณ์ควรจัดให้ได้รับความคิดเห็นจากประชาชนทุกหมู่เหล่า และทำในวงกว้างเพื่อให้ไดัข้อสรุปที่สะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนอย่างแท้จริง ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีผลต่อประชาชนจำนวนมาก โดย Pralong Krutnoi 

http://noticias.lajornada.ca/1230_english-content/1503949_your-duty-as-a-citizen-in-a-democracy.html


จะเห็นได้ว่าหัวใจของประชาพิจารณ์คือประชาชน นั้นมันคือทฤษฏี แต่ในทางปฏิบัติอาจะหาเป็นอย่างนั้นไม่ ผมเองไม่ได้เคยไปอยู่ร่วมในวงประชาพิจารณ์ ดังนั้นอย่าฟังผมจนปราศจาก วิจารณญาณ  ใดๆ ทั้งหมดผมฟังมาจากท่านอาจารย์ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษณ์ และเกี่ยวข้องกับการทำประชาพิจารณ์ในหลายๆพื้นที่

            การทำประชาพิจารณ์มักมีข้อสรุปของผลลัพท์อยู่แล้ว ไม่มีใครยอมฟังเสียงของประชาชนจากใจจริง ทุกอย่างที่ทำลงไปล้วนมีข้อตกลงในระดับบนอยู่แล้ว อาจจะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือผลประโยชน์กลุ่ม การลงไปทำประชาพิจารณ์มักทำไปเพื่อให้สามารถกล่าวอ้่างความชอบธรรม หรือถ่วงดุลลจากกลุ่มผู้เห็นต่างได้ การทำประชาพิจารณ์จะเน้นไปในกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความคิดเห็นใดๆ มีการโน้มน้าวก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ทุกเสียงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
            รายงานเรื่องผลกระทบจะต้องมีทั้งข้อดีข้อเสีย เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีการเตรียมการมาอย่างดี เรื่องที่เป็นข้อดีมักจะถูกชูโรงให้กลายเป็นจุดขาย มีการพูดย้ำซ้ำๆ จนกลายเป็นประโยคติดหู ส่วนเรื่องใดที่เป็นข้อเสียหรือว่าอาจนำมาซึ่งการสูญเสียผลประโยชน์ของกลุ่มบน ก็จะถูกพูดผ่านๆ หรือว่าน้อยมาก หรือไม่มีผลกระทบใดๆที่ร้ายแรง
            วันที่ที่เหมาะสม และสถานที่ทำประชาพิจารณ์ ควรเป็นตัวเมือง เมืองหลวง สามารถรับรู้กันได้พร้อมเพียงกัน ล่วงหน้าทุกฝ่าย  เน่ืองจากลดปัญหาเรื่องของการเข้าถึง หรือจัดที่บริเวณที่มีการขัดแย้งของผลประโยชน์นั้นๆ เป็นที่น่าเศร้าที่หลายครั้งเกิดเหตุการณ์เช่น รู้ล่วงหน้าไม่ถึงวัน หรือฉุกละหุกมั่ง ทำให้กลุ่มที่เป็นฝ่ายขัดแย้งไม่สามารถเตรียมการณ์ใดๆได้ทัน ข้อมูลจึงถูกชูอยู่เพียงด้านเดียว หรือสถานที่มักไม่เอื้ออำนวย เช่นไม่ใช่บริเวณที่ได้ทำการตกลงไว้ ตามด้วยข้ออ้างต่างๆนาๆ การหลอกล่อโดยการเลื่อนไปเลื่อนมา เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการหลอกล่อที่ดียิ่ง ผู้จัดทำจึงเป็นผู้ถือไพ่ที่ดีกว่า
            ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ไม่มีการพูดถึงการรับผิดชอบใดๆหลังจากโครงการที่เกิดหลังทำประชาพิจารณ์ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย ข้างบนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆกับประชาชน และประชนไม่สามารถเรียกร้องใดๆได้ ข้างบนมีหน้าที่เพียงทำตามหน้าที่ให้ข้างบนขึ้นไปอีกพอใจเท่านั้น  ส่วนคนทีรับผลกระทบก็ต้องแบกรับสิ่งเหล่านี้ไป


ส่วนหลักการณ์ทั่วไป ผมได้ไปเจอลิงก์ที่น่าสนใจ http://www.gotoknow.org/posts/461696? ซึ่งตามหลัก academic แล้วอาจะไม่น่าเชื่อถือเท่าไรพราะเอามาจาก สื่อออนไลน์  ก็อ่านไว้เป็นข้อมูลละกันครับ

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form