ชวนอ่านหนังสือ No Rules Rules






เป็นหนังสือที่ Controversial หน่อยๆ เกี่ยวกับ Culture การทำงานของพนักงานที่ Netflix จนทำให้ไปหามาอ่าน ซึ่งเนื้อหาที่ hook หรือดึงความสนใจผมจะเป็นการเริ่มจากการที่ Netflix ไล่พนักงานเก่งๆออก 

ซึ่งปกติเราจะได้ยินแค่การไล่พนักงานไม่อาจจะไม่เหมาะสมกับงาน หรือทำได้ไม่ตรงมาตรฐาน หรือความคาดหวังขององค์กร แต่ Netflix ไม่มีบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้ว ซ้ำยังไล่คงที่เก่งอยู่แล้วออกอีก คงเหลือแต่พวก Topnotch จริงๆ

“Keep 80 highest performers and let go 40 less amazing ones”


จากนั้นคนที่เหลือเค้าก็จะเปย์ด้วยเงินเดือนสูงๆ แบบว่าถ้าบริษัทอื่นมาซื้อตัวและให้สูงกว่า ก็เดินมาขอเงินเดือนขึ้นได้เลย


มันมีข้อดีและข้อเสีย

- แน่นอนการทำงานกดดันโคตรๆ สอนให้รู้จักการรับผิดชอบจาก consequence จาก Decision ตัวเองการ Encourage ให้พนักงาน Bet หรือ Take Risk มากกว่านั่งเฉยๆไม่ทำอะไร

- การไม่มี Layer of approval หรือ approval rule เปิดโอกาสให้พนักงานทั่วไป Sign deal ระดับ Billion  USD ได้เอง แต่ถ้าอ่านดีๆ จะเห็นว่ามีฝ่ายกฏหมายมา Review ความเสี่ยงให้ก่อนแล้ว เพราะฉะนั้น Risk ไม่ได้เรียกว่า 100%

- การทำงานแบบมีพักร้อนไม่จำกัด  ให้พนักงานในทีมจัดการ schedule กันเอง ถ้าคนที่ทำงานในสาย tech แบบนี้ มันจะมีการทำงานแบบ Work stream และ Squad ซึ่ง บริษัทไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องของวันลา แต่ให้ Squad และ Work stream จัดการกันเอง ( กดดันที่ leader ต้องเป็นตัวอย่างในการลา ไม่ให้น่าเกลียดเกินไป)

- การไม่ใช้ KPI ในการวัดผลกับกลุ่มงานด้าน Creative เพราะส่งผลต่อความเครียดและทำให้สร้างสรรค์งานได้ไม่ดี 

- การให้ Feedback แบบเปิดเผยและตรงๆ ซึ่งชัดเจนว่า Culture Asia อย่างเรามันไม่ใช่ หนังสือมีเล่าถึงประเด็นนี้เหมือนกัน การให้ Feedback สำหรับบางชาติเช่นฝรั่งเศส จะง่าย เพราะว่าเค้าเป็นแบบนั้น แต่ญี่ปุ่น ไทย จะลำบาก เอาเข้าจริง อเมริกาก็ไม่ได้พูดตรงๆนะ พูดอ้อมด้วยซ้ำไป

- การบริหารองค์กรอย่างทีมนักกีฬา มีแต่ตัวจริงๆเก่งๆ ทำไม่ได้ก็เปลี่ยนออก ไม่ได้ลงสนามบ่อยๆก็ปลดออก ไม่ใช่แบบ Family ที่จะมาประคบประหงม

เคยมีคำพูดที่เคยได้ยินมาว่าองค์กรที่บริหารแบบ family ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ดี เพราะว่าทุกคนจะได้รับการให้อภัย ไม่เด็ดขาด ทำให้องค์ที่มี performance แบบกลางๆ ค่อยเดินถอยหลัง เพราะว่าความประคบประหงม ประณีประนอมนั้นเอง


เป็นหนังสือหักมุม ที่เขียนยกและเสริมภาพลักษณ์องค์กร อ่านสนุก ไม่ได้โหดเหมือนกับที่ได้ยินมา

จับทางคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างอ่าน และ คนเขียน provide คำตอบได้หมดเลย

Previous Post Next Post

Contact Form