ประสบการณ์เผชิญหน้ากับยักษ์ใหญ่กลางท้องทะเล วาฬบรูด้า


เคยคิดฝันไหมว่าจะได้เจอปลาวาฬตัวเป็นๆ มันอาจดูเป็นอะไรที่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งนะผมว่า การออกไปหาวาฬดูไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับประเทศไทยของเรา  ใครจะรู้ว่า มันอยู่ใกล้แค่เอื้อมจริงๆ เพียงไม่กี่นาทีจากกรุงเทพ ค่าใช้จ่ายแค่หลัก1-2 พันเท่านั้น กับประสบการณ์ที่ผมไม่อาจลืมได้ และสามารถอวดใครต่อใครได้ไปยันแก่

" วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (อังกฤษ: Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera brydei) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้า"
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2


กลุ่มที่ผมได้ร่วมเดินทางไปด้วย เป็นเหมือนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ต้องขออภัยจริง ขณะที่ผมเขียน blog นี้ เวลาก็ล่วงเลยไปครึ่งปีแล้ว รายละเอียดผมจำไม่ได้จริงๆ
การเดินทาง : เนื่องจากที่ผมไปด้วยเป็นเหมือน package รวมค่ารถตู้ อาหารกลางวัน(บนเรือ) และอาหารเย็น ซึ่งไม่มีการดำน้ำ หรือว่ายน้ำใดๆทั้งสิ้น แค่ดูอย่างเดียว


สิงที่ต้องเตรียมไป :

1. แน่นอนกล้องถ่ายรูป แนะนำเป็นช่วงที่มีระยซูมมากๆ 200 ขึ้นไปจะดีมากๆ เพราะอะไรที่เกิดขึ้นกับเราอาจจะอยู่ไกลออกไป มันจะช่วยเราได้มากทั้งบันทึกภาพ และเป็นกล้องส่องทางไกลกลายๆ
กล้องถ้าเป็นไปได้เอาที่ดีที่สุดไปนิดนึง ผมเข้าใจคำว่า ความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วในการโฟกัส และ ความในเร็วถ่ายภาพสูงสุดใน 1 วินาที เป้นอย่างไรเลย (เดัยวจะอธิบายให้ฟัง)

2. หมวก อุปกรณ์กันแดด ครีม แว่น ผ้าโพก เนื่องจากการดูวาฬ เราเลือกได้ที่จะดูในเรือที่มีหลังคาคลุม ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องของมุมมองมากมาย ทั้งติดคน ติดหน้าต่าง ติดเสา ทางที่ดีทาครีมกันแดด และใส่อุปกรณกันแดดซะ! แล้วกระโดดขึ้นไปบนหลังคาเรือดีกว่า

3.Memory Card และ แบต สำหรับคนที่ Jpeg ไม่ใช่คำตอบที่อยากได้ RAW เท่านั้นที่ต้องการ memory คุณต้องมีเพียงพอๆ เพราะเมื่อคุณได้เห็นมันคุณต้องรัวชัตเตอร์ใส่มันอย่างไม่ยั้ง ไม่ต้องจัดวางองค์ประกอบ เพราะไม่มีทางทันมันหรอก เชื่อผม




จากกรุงเทพ ในตอนเช้าตรู่ เราก็เดินทางมาถึงปากอ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี  ขณะนั้นเช้ามากๆ ผมจึงหลับตลอดทางตื่นมาอีกที "อ้าวถึงแล้ว"


เรือที่จะพาเราไปลำไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ในเรือจะมีห้องน้ำอยู่ด้านหลังพร้อมน้ำจืดสำหรับล้าง การเดินทางครั้งนี้จะมีการหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก 

ทำไมนะเหรอ เพราะว่ามีการค้นพบว่า ถุงพาสติกที่นักท่องเทียวจงใจหรือไม่จงใจทำหล่นไปยังทะเล นอกจากมันไม่สามารถย่อยสลายได้โดยง่ายๆตามธรรมชาติแล้ว   สัตว์ทะเล เช่น เต่าทะเลมักคิดว่าถุงพลาสติกเป็นแมงกระพรุน อาหารโปรดของมัน จึงกินเข้าไปโดยไม่รู้   สุดท้ายก็ตายอย่างทรมาน เพราะมันไม่สามารถย่อยถุงพลาสติกได้ นอกจากนี้  ยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับ โลมา วาฬ หากมันไปอุดรูที่ใช้สำหรับหายใจที่ผิวน้ำ อย่าลืมว่า วาฬและโลมา ไม่สามารถหายใจในน้ำได้อย่าวปลาทั่วไป 



สมาชิกเมื่อพร้อมแล้วก็เริ่มออกเดินทาง โดยทริปนี้ต้องเดินในเรือโดยไม่ใส่รองเท้า มันก็ไม่เท่าไรหรอก ถ้าเกิดไม่ยืนบนดาดฟ้าเรือที่มีแดดแผดเผาระอุจนเท้าพอง


เพื่อนเริ่มงัดอุปกรณ์ในการบันทึกภาพ แบบจัดเต็ม


นกที่พบระหว่างทาง ผมจำชื่อนกไม่ได้จริง แต่พอบอกได้ว่าตัวไหนเป็นประเภทหายากนะครับ ซึ่งการเจอนกพวกนี้เป็นการซ้อมมือในการฝึก pan กล้องเพื่อเก็บภาพได้อย่างดี และทดสอบว่ากล้องของคุณพร้อมจะจับวินาทีที่เห็นเจ้าบรูด้า หรือยัง




นกด้านบนเป็นนกหายากตัวนึง จากที่ทีมงานบอกผมมา แน่นอนผมจำชื่อมันไม่ได้หรอก


ทำความเคารพผู้มาเยือน


สภาพความวุ่นวายในเรือ และความเงียบสงบบนดาดฟ้าเรือ นั่นคือเหตุผลทำไมคนที่ต้องการภาพถึงเลือกที่จะอดทนต่อแสงแดด ไปอยู่ด้านบน








เพียงไม่กี่นาทีหลังจากที่เริ่มเพลิดเพลินกับการเก็บภาพนก ที่เรารู้สึกได้ เพราะตลอดเวลาที่เดินทางมา เรือใช้ความเร็วมาตลอด ที่บอกว่าต้องแพนกล้องเก็บภาพนก แล้วจู่ๆ เรือก็เริ่มถอนความเร็วแล้วปล่อยให้มันแล่นต่อตามแรงที่ยังเหลืออยู่

ขณะนั้น เรือกำลังลอยอยู่โดยที่ไม่ติดเครื่อยนตร์ ท้องทะเลช่างเงียบสงบเกินไปจริงๆ มีแค่เสียงผมและเสียงคลื่นเท่านั้นที่ลอยเข้าหู ทุกคนต่างพยายามมองออกไปรอบๆว่า นี่คือบริเวณที่เราจะมามองหาสิ่งที่เราต้องการกันหรือไม่

เหตุผลที่ต้องดับเครื่องก็คือ เครื่องยนตร์ค่อนข้างมีเสียงและสั่น มันจะทำให้ปลาที่เป็นอาหาร และบรูด้ากลัว ทางที่ดีที่สุดก็คือเข้าไปอยู่ในใจกลางของพื้นที่หากินของ บรูด้า แทน



ฟู่...........

เสียงพ่นน้ำดังขึ้นมาจากด้านหนึงของเรือ ไกลห่างออกไป  ทุกคนหันไปมองโดยไม่ลืมที่จะประทับหน้าเข้ากับ ViewFinder เพื่อบันทึกภาพ บางคนก็ทัน บางคนก็ไม่ทัน เพราะช่วงเวลานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็วมาก แต่ถ้าไม่สังเกตดีๆจะมองไม่เห็นเลย

ผมคาดหวังไว้ว่าจะได้ถ่ายภาพมันตอนกระโดดขึ้นมาจากน้ำ เพราะภาพที่ผมเห็นก่อนมานั้นสวยงามมากเห็นใต้ท้องปลาด้านหน้าเป็นสีแดงชมพูระเรือ ผมหวังว่าจะได้เก็บภาพเหล่านั่นในทริปนี้

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมาที่นี่ ทุกคนแอบกลัวในใจว่าการเห็นบรูด้า ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรู้จักมันพอสมควร ต้องรู้ว่ามันออกมากินที่ไหน เพราะว่าชอตที่ดีที่สุดที่ทุกคนอยากได้ก็คือ บรูด้ากระโดดขึ้นจากน้ำเพื่อมากินปลากระตักที่อยู่ผิวน้ำนั่นเอง  อีกทั้งจำนวนบรูด้าก็มีไม่มากในท้องทะเลบริเวณนี้ ถ้าจำไม่ผิดจะมีอยู่ 4 ตัวเอง

ทีมงานบอกกับเราว่า ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้เห็น มันจะมีแค่เห็นมากเห็นน้อยเท่านั้น เพราะตั้งแต่เค้าออกเรือมาหลายๆครั้ง ไม่มีครั้งไหนเลยที่ไม่เจอ แต่ถ้าเราดวงดีมากๆไม่เห็นจริงๆ เค้าอนุญาติให้ออกทริปอื่นๆของเค้าอีก โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสักครั้งหนึ่ง



คำถามคือ เราจะเห็นมันชัด และบ่อยแค่ไหนกัน .....................





ทุกคนเริ่มจับทางได้ว่าลักษณะการปรากฏจะเป็นอย่างไร ตอนนี้มือทุกคนจับอยู่ที่ตัวซูมของเลนส์ การใช้โฟกัสมือ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีสักเท่าไร เพราะคุณแทบไม่มีเวลาให้หมุนโฟกัส หรือวางองค์ประกอบให้สวยงามเลย

"ไป Crop เอา " นั่นคือเสียงที่อยู่ในใจของช่างภาพหลายๆคนบนเรือ


เราไม่สามารถเดาได้ว่าบรูด้าจะมาทางไหนเลย เราเรียนรู้ได้ว่า เราต้องกว้างๆ ต้องอาศัยโชคในการเดา และสุดท้ายผมใช้ประสาทหู มากกว่าที่จะใช้ตา เพราะเสียงเท่านั้นที่จะบอกว่ามันอยู่ตรงไหน และไกลออกไปเท่าไร ก่อนที่ตาเราจะสามารถมองเห็น และสมองจะสั่งให้แขนยกกล้องได้ทันในเวลาต่อมา



บรูด้า ว่ายเข้ามาใกล้บ้างไกลบ้าง เพราะฉะนั้นมือของคุณต้องพร้อมซูมตลอดเวลา การถ่ายครั้งนี้ผมเลือกถ่ายเป็น JPEG HQ เพราะกลัว Memory ไม่พอ เพราะการถ่ายคุณต้องระเบิดความเร็วชัตเตอร์ให้ได้มากที่สุดต่อการกดหนึ่งครั้ง ภาพมันจะต้องมีจังหวะที่ดีมั่งหล่ะน่า


บางทีมันก็ไกล บางทีก็ใกล้มาลอดใต้ท้องเรือ เหมือนกับมาทักทายแขกผู้มาเยือน





ปากของมันจะเห็นได้ว่ามีสีชมพูนิดๆ ผมไม่มีโอกาสได้เก็บภาพตอนมันอ้าปาก คาดว่ากว่าเราจะไปถึงมันคงกินอิ่มเสียแล้ว ภาพที่เก็บได้ส่วนใหญ่คือ มันโผล่ขึ้นมาหายใจ และทักทายเล็กๆน้อยๆเท่านั้น




นกเหล่านี้ จะมาเป็นฝูง ซึ่งเป็นประโยชน์กับเราในการสังเกตตำแหน่งของบรูด้า เพราะนกเหล่านี้จะมองหาจุดที่ปลากระตักจะอยู่รวมเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แล้วเจ้าบรูด้าก็จะขึ้นมากินปลาที่ผิวน้ำ และนกจะฉวยโอกาศฉกกินจากปากบรูด้า ก่อนที่ปลากระตักทั้งฝูงจะตกลงไปอยู่ในท้องใหญ่ๆของบรูด้าแทน


หลังจากที่เราคิดว่าใกล้เที่ยงแล้ว และปลากลุ่มแรกดูเหมือนจะอิ่มมาก่อนหน้าที่เราจะมาถึง เราก็เลยย้ายน่านน้ำไปอีกจุดหนึ่ง ระหว่างทางก็เจอปลาโลมาอิรวดี เป็นฝูงที่ออกมาเล่นน้ำ จริงๆผมถ่ายไว้หลายรูป แต่เจอเพื่อนแอบแกล้งไปปิด Auto-Focused ทำให้ภาพออกมาเบลอทั้งหมดเลย = =

ระหว่างการย้ายสถานที่เราก็เริ่มกินอาหารกล่องกัน ที่นี่ใช้กล่องเป็นหลุมที่เป็นพลาสติก เพื่อที่จะได้นำไปทำความสะอาดบนฝั่ง ไม่ทิ้ง และไม่ก่อให้เกิดขยะที่จะหล่นลงทะเล แก้วน้ำก็จะเป็นแก้วพลาสติกที่มีน้ำหนัก มีชื่อเขียนเรียบร้อย เพื่อที่จะเป็นการ re-check ไปในตัวว่าของใครหล่นหายไป ถุงพลาสติกอาจจะหลักเลี่ยงในการใส่อาหารมาได้ก็จริง แต่ยังคงมีถุงที่เป็นขนมอีก เราก็ต้องมีความรับผิดชอบกันหน่อย ไม่ให้มันปลิวหล่นออกไปลงทะเล




น่านน้ำที่สอง เราก็เจอเหมือนๆกัน บรูด้ามักจะออกหากินเป็นคู่แม่กับลูก ที่น่านน้ำนี้ เราเริ่มที่จะเรียนรู้การถ่าย การมองหามากขึ้น ตาผมมองผ่าน view-finder แทบตลอดเวลา แต่สิ่งที่ใช้จับตำแหน่งไม่ใช้แค่ตาอย่างเดียวเท่านั่น

มีหลายครั้งที่ บรูด้าโผล่มาใกล้มาก ซึ่งถ้าเราเอาแต่มองเราอาจจะมองเลยไปไกลๆ จนหันกล้องกลับมาไม่ทัน "ฟัง" เท่านั้นที่แม่นยำสุด

เหมือนเรากำลังเป็นนักล่าปลาวาฬ แต่การล่าของเราไม่ใช้อาวุธ เราล่าภาพของพฤติกรรมมันเท่านั้น ทุกอย่างต้องอาศัยทักษะ และความว่องไวล้วนๆ









เมื่อเวลาเริ่มเข้าสู่บ่ายสามโมงกว่า เราก็เริ่มเดินทางกลับฝั่ง ระหว่างทางมีนกเยอะแยะมากมายที่จะรอกินปลาที่กระเด็นมาจากละอองน้ำหลังเครื่องยนตร์ หลายๆคนที่แรงยังเหลือก็จะออกมาเก็บภาพด้านท้ายเรือกัน จุดนี้อาจจะมีนกไม่เยอะไม่สวยเหมือนกับตอนที่ผมไปที่บางปู แต่ก็เป็นจุดที่ให้บรรยากาศที่ดีไม่แพ้กัน





สิ้นสุดการเดินทาง เราก็กินข้าวและถ่ายรูปร่วมกันบนฝั่งก่อนที่จะเดินทางกลับด้วยความอ่อนแรง เนื่องจากสภาพแดดที่เราออกไปยืนตากเพื่อเก็บภาพสวยๆ และความประทับใจที่ได้อยู่ในความทรงจำของเราไป

อย่างที่บอกเราไม่ได้คิดว่าสิ่งมหัศจรรย์ที่เคยเห็นในสารคดีจะมีอยู่ในเมืองไทยและใกล้เช่นนี้
หวังว่าภาพจะออกดีทุกรูป แค่เห็นหัวปลาบรูด้ามั่งก็ดีแล้ว เพราะเราไม่มีเวลาย้อนไปดูรูปที่ถ่ายมา เนื่องจากการรัวชัตเตอร์ที่ปาไปเกือบพันรูปสำหรับผมคนเดียว 





Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form