เนื้อหาที่จะเล่าต่อไปนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก Hidden Brain Podcast “Thriving in the Face of Contradiction” จนได้แรงบันดาลใจลามไปเรื่องอื่นๆที่ใกล้เคียง
เนื้อหาจะพูดถึงการตัดสินใจอะไรที่สำคัญในชีวิต แปลกไหมที่มันมักจะมีให้เลือกสองทางเสมอ เช่น นักศึกษาที่พึ่งเรียนจบว่าจะเลือกเรียนต่อเลยหรือว่าลองหาประสบการณ์ทำงานก่อน หรือ พนักงานบริษัทที่กำลังมองหางานที่จะต้องเลือกว่าจะทำงานที่เก่าที่เค้าขึ้นเงินเดือนให้เพื่อจะรั้งคุณไว้หรือตอบรับกับงานใหม่ที่มีข้อเสนอไม่แพ้กันดี
ทำไมจะต้องมีสอง Choices เสมอ
หน้าที่หลักของสมองของเราคือการประมวลข้อมูลที่รับมา (Process information) และเราก็มักจะมีกระบวนการตัดสินอย่างรวดเร็ว (Quick Judgement) การตีตรา (Label) หรีอการจัดกลุ่ม (Classify) ข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ผิดใดๆทั้งนั้น เราทุกคนต่างถูกออกแบบมาเป็นแบบนี้ ยิ่งในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารเข้าถึงได้ง่ายและสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมองก็เลยยิ่งต้องทำการบิดเบือนความคิดเพื่อให้เรารู้สึกว่าข้อมูลนั้นเข้าใจได้ง่าย และ Make sense ขึ้นสำหรับเรา หนึ่งในปรากฎการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คือ Binary Bias (Binary คือ มีความเป็นคู่ หรือมีความเป็นสอง)
Binary Bias ถ้าเป็นตัวอธิบายได้ดีตัวหนึ่งในการตอบคำถามว่าทำไมเราต้องเลือกระหว่างสอง Choices ที่ยากที่สุด จริงแล้วตัวเลือกมันมีมากกว่านี้ แต่ความ Bias ทำให้เราตัดตัวเลือก ผสมตัวเลือก หรือตีตราตัวเลือกจนเหลือแค่สองตัว เพราะการที่เหลือแค่สองตัวเลือกทำให้เรารู้สึกสบายและเข้าใจตัวเลือกได้ง่ายที่สุด
ปรากฏการณ์นี้คล้ายๆกับเวลาเรามีคำถามปลายเปิดที่เรายังไม่ได้รับคำตอบ เราจะอยู่ไม่สุขเลยถ้าเราไม่ได้รับคำตอบเสียที เพราะในขณะที่ไม่ได้รับคำตอบ คุณสามารถคิดคำตอบไปเองได้ไม่รู้จบ แต่เมื่อได้คำตอบแล้วมันจะเหลือแค่สอง นั้นคือ ”ฉันไดคำตอบแล้ว” กับ “ฉันยังไม่ได้คำตอบ” นั่นเอง
“We’re blind to our blindness. We have very little idea of how little we know. We’re not designed to know how little we know.”
Daniel Kahneman-
ความจริงบนโลกของเรา
มันเป็นเรื่องตลกถ้าผมจะแบ่งคนบนโลกนี้ออกแบบเป็น 2 กลุ่ม นั้นคือ คนที่เป็น Binary Thinker และ Non-Binary Thinker ทำไมถึงตลกงั้นเหรอ เพราะผมพึ่งจะแสดงให้เห็นตัวอย่างของ Binary Bias ของผมหน่ะสิ
ไม่มีสิ่งใดๆในโลก ผิดหรีอถูก ขาวหรือดำ ดีหรือเลว เราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเราเดินทางผ่านสิ่งที่เรียกว่าเทาๆ เบลอๆ งงๆ มามาก เพื่อให้ทุกอย่างรอบตัวกลับมาอยู่ในสถานะนิ่งๆ หรือ Stable ใน Comfort Zone อีกครั้ง
งานวิจัยจาก Yale University (USA) พบว่าเมื่อเราต้องเผชิญกับข้อมูลประเภท สุขภาพ การเงิน หรือการเมือง เรามีทีท่าที่จะตอบสนองมันด้วยอารมณ์ ความขอบหรือไม่ขอบ ไม่ใช่เหตุผล หรือไม่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดหรือจากหลักฐาน
ปัญหาของการคิดแบบ Binary
ปัญหาที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ ความไม่แม่นยำ (Inaccuracy) พื้นที่ที่ไม่ชัดเจนหรือพื้นที่สีเทาๆ (Gray Area) มีอยู่จริง เราเลือกที่จะเพิกเฉยมันเพราะมันทำให้เรารู้สึกสบายขึ้น แต่ไม่มันไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
ปัญหาที่สองคือ เรากำลังหลอกตัวเอง เราคิดว่าเรากำลังแก้ปัญหาหรือ Engage กับเรื่องนั้นๆ แต่ไม่ใข่เลย เรากำลังหนีปัญหาส่วนใหญ่เพื่อเผชิญหน้ากับบางส่วนต่างหาก ที่แย่ก็คือถ้าส่วนที่เราเลือกมาแก้ (ที่มาจากการตั้งสมมุติฐานและจัดกลุ่มให้เหลือสองทางเลือกไปโดยอัตโนมัติ) นำไปสู่ความขัดแย้ง (Conflict) หรือความรู้สึกหลุดแยกออกจากกัน (Detachment) เราจะไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง หรือาจจะเกินเลยไปถึงการเลือกปฏิบัติ (Discrimination)ได้
ทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงการคิดแบบ Binary
- เปิดมุมมองใหม่ๆ เจอคนใหม่ๆ หรือลองอะไรใหม่ๆ : เป็นการฉีกเราจากกรอบความคิดเดิมๆ ยกตัวอย่างเรื่องการทำอาหาร การทำต้มยำกุ้งไม่ได้มีวิธีเดียว หรือมีสูตรอร่อยที่เป็นหนึ่งเดียว มันมีอิทธิพลจาก สถานทีใหม่ๆ คนทำใหม่ๆ ที่ย่อมเกิดสูตรใหม่ๆ ได้เช่นกัน
- ตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ : อย่างที่เล่าไป โลกนี้ไม่ได้มีแค่สองด้านหรือสองตัวเลือกเสมอไป Wendy Smith (a professor of management at the Alfred Lerner College of Business & Economics) ได้พูดเกี่ยวกับ Paradoxical Appoarch ใน TedTalk ว่า โลกนี้ไม่ได้มีความจริงเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถมีความจริงได้มากกว่าหนึ่ง (Multiple possible truths) แม้ว่าความจริงนั้นเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
- ฟังอย่างเปิดใจก่อนตอบ: บางอย่างเราตอบสนองด้วยอารมณ์ หรือความชอบไม่ชอบ ก่อนจะเริ่มทำอะไรให้หยุดและมองสะท้อนไปก่อน ยิ่งเวลาที่เราพยายามจะหาคำอธิบายเราามัดจะพยายามจัดกลุ่มในอยู่ในหมวดที่เราคุ้นเคย เช่นคนนี้เป็นพวกสนับสนุนฝั่งรัฐบาล หรือคนนี้สนับสนุนฝ่ายค้าน จงมองคนด้วย Empathy และคิดแบบ Critical Thinking ให้ดีก่อน
- อย่าตกหลุมพลางของ Dunning-Kruger Effect : ปรากฏการณ์ นี้เป็นหนึ่งใน Cognitive Bias ที่ทำให้คนคิดว่า “เราฉลาดมีความรู้ความสามารถมากกว่าความจริงที่เค้าเป็น” โดยเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถต่ำ (low-ability) ที่มีรู้ตัวเองหรือตะหนักถึงศักยภาพตัวเองน้อย ซึ่งอันนี้ไม่ได้หลอกด่านะครับ มันเป็น Stage ที่เรามีความตะหนักในตัวเอง (Self-awareness) ผสมกับทักษะความรู้คิดที่ต่ำ (Low cognitive abiility) ทำให้พวกคิดประเมิณค่าตัวเองสูงไป (Overestimate thier capabilities)
- เปิดใจ อดทน ยอมรับความไม่แน่นอน และความโกลาหล : ถึงแม้ว่าความไม่แน่นอนนั้นจะก่อให้เกิดความเครียดแต่อย่างน้อยก็เพื่อให้เราตัดสินใจและมองโลกอย่างรอบคอบขึ้น
Spectrum Thinking
เป็น Antithesis of binary thinking ที่จะพิจารณาหลายๆ ทางเลือก หลายๆ ความเป็นไปได้ ที่อยู่ในพื้นที่สีเทาๆ มากกว่าการมองแบบสุดขั้ว
Spectrum Thinking เป็นความสามารถในมองเห็นรูปแบบ (Pattern) และความชัดเจน (Clarity) จากภายนอก โดยการมองข้ามไปข้ามาระหว่างตัวเลือก มองไปมากกว่าหรือเหนือกว่า หรือมองแบบไม่มีกรอบความคิดหรือหมวดหมู่ความคิดมาครอบ และมองอย่างอดทนต่อความไม่แน่นอน ความเรียบง่ายของ Binary choices
https://ozchen.com/binary-vs-spectrum-thinking/ |
Psychiatrist ที่ชื่อ Albert Rothenberg ได้ทำการศึกษาวิธีการคิดของกลุ่มบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะ พบว่า เค้าคิดแบบ Spectrum Thinking โดยการมองทั้งสองไอเดียที่เป็นคู่ตรงข้ามพร้อมๆกัน (Both) หรือ Einstein ก็ค้นพบ Theory of Relativity จากแนวความคิดที่ว่าวัตถุจะมีสถานะเคลื่อนที่ (In motion) และหยุดนิ่ง (Frozen) พร้อมกันได้อย่างไร
ตัวอย่างวิธีคิดแบบ Spectrum
Binary : คิดว่าการที่ค่ายรถยนตร์ไฟฟ้าราคาถูกจากเมืองจีนขะเข้ามาครองตลาดรถยนตร์เมืองไทยได้ไหม
Spectrum (Both) : ราคาที่เอื้อมถึงได้บวกกับเทคโนโลยีที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ตลาดรถยนตร์ในเมืองไทยตื่นตัวมากขึ้นและเกิดการแข่งขันมากขึ้น
Binary : คิดว่าถ้าผู้ชายควรจ่ายค่าอาหารเวลาไปออกเดทแรกไหม
Spectrum (Between) : ไม่จำเป็นใครเป็นคนชวน ก็ควรจะเป็นคนนั้นจ่ายสำหรับเดทแรกนะ
Binary : เพื่อแก้ปัญหาคนยากจนไร้บ้าน เราควรจะเพิ่บงบประมาณที่อยู่อาศัยและการจัดหางานไหม
Spectrum (Other) : ทั้งสองเรื่องก็ดูเป็นเรื่องสำคัญ แต่เราควรให้ความสำคัญด้านการศึกษาก่อนดีกว่า
Binary : เราควรจะลงพื้นที่เขตไหนเพื่อให้กำลังใจประชาชนเกี่ยวกับน้ำท่วม
Spectrum (Neither) : ผมคิดว่าเราควรจะเฝ้าระวังสถาณการณ์ที่สำนักระบายน้ำและเตรียมพร้อมลุยตรวจสถานีสูบน้ำมากกว่า
Binary หรือ Spectrum Thinking
มันก็จะเป็นเรื่องตลกอีกเรื่องนึง ถ้าผมจะให้คุณเลือกว่า Binary หรือ Spectrum ดีกว่ากัน แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ข้อเสียของ Spectrum Thinking ต้องใช้ความคิด เวลา และ ทรัพยากรมาก ในขณะที่ Binary จะทำให้เกิดการตัดสินใจได้ง่ายกว่า ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับขั้นตอนการตัดสินใจดำเนินการ (Execution) มากกว่า Spectrum ที่ดูเหมือนจะเหมาะกับขั้นตอน Exploration หรือ Generating Idea
reference
- https://www.lifehack.org/881768/binary-thinking
- https://exploringyourmind.com/the-binary-bias-over-simplified-way-of-processing-information/
- https://www.psychologicalscience.org/news/releases/binary-bias-distorts-how-we-integrate-information.html
- https://exploringyourmind.com/the-binary-bias-over-simplified-way-of-processing-information/
- https://emma-read.medium.com/binary-thinking-the-polarization-of-our-minds-and-reality-aa5429f2236
- https://ozchen.com/binary-vs-spectrum-thinking/
- https://podcasts.apple.com/us/podcast/hidden-brain/id1028908750?i=1000582941773