แนวทางการทำ Portfolio เพื่อสมัครงาน

หลายเดือนที่ผ่านมาผมพัวพันกับการทำ Web Portfolio มากๆ จริงๆตั้งเป้าว่าจะให้เสร็จตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ว่ามันมีปัจจัยหลายๆอย่างทำให้ไม่ไปอย่างที่หวัง ส่วนนึงเป็นเพราะตัวเทคโนโลยีที่เลือกใช้ด้วย จนในที่สุดมาจบที่ No-code อย่าง Notion ทำให้มีเวลามา Focus กับการทำ Content มากกว่าที่จะไป Focus เรื่องของเครื่องมือ



ที่ผ่านมาเองผมก็มีโอกาสได้รีวิว Port ของน้องๆหลายคนเพื่อรับเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์งานปีนึงน่าจะเป็น 100 Applications จากที่ที่ถูกคัดกรองมาแล้วด้วย ทำให้มีแนวคิดที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆที่จะสมัครงาน หรือแม้กระทั้งตัวเองที่ใช้เป็น Checklist ได้




A Greatest Hits Album

จะมีคนประมาณอยู่สองกลุ่มหลักที่ผมเจอ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ผลงานไม่เยอะมาก แน่นอนน้องจบใหม่ หรือน้องที่ย้ายสายมา สำหรับผมที่เจอคือย้ายมาทำ UX และอีกกลุ่มนึงคือพวกผลงานเยอะมากๆ เช่นคนที่รวมเอาทุกอย่างแม้กระทั้งการฝึกงานร้านอาหารจากโครงการแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ และคนที่ทำงานมาเยอะมากจริง ซึ่งผมเองอยู่ในกลุ่มหลัง

สองกลุ่มนี้ Painpoint ไม่เหมือนกัน แต่สร้างความลำบากให้กับคนสัมภาษณ์อย่างผมคล้ายๆกัน คือการ Focus ที่ปริมาณ 

เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจสำหรับคนที่ทำงานเยอะๆหรือทำงานมาหลากหลาย มันคือประสบการณ์ที่คุณเก็บเกี่ยวตลอดมาในชีวิตคุณ แต่ผมไม่ได้อยากเห็นงานทั้งหมดของคุณ ผมอาจไม่มีเวลามากขนาดนั้น แม้ว่างานคุณจะน่าสนใจก็ตาม

คำว่า Greatest Hit ผมเอามาจากเวบที่เขียนแนะนำเรื่องการทำ Port เวบหนึ่ง แต่ผมอยากให้สนใจเรื่อง Genre ด้วย นั้นคือก็ประเภทของงาน คุณควรแยกประเภทของงานคุณและคัดเลือกแค่งานที่น่าจะมำให้ Recruiter อย่างผมสนใจ กล่าวคือ ถ้าผมกำลังมองหา UX งานก็คุณนำเสนอก็คือ UX ไม่ใช่ Graphic ไม่ใช่ Coding ถึงตอนนี้อาจจะมีคนถามว่าแล้วเราควรเอาออกไปเลยไหม คำตอบคือมันก็ไม่ควรเอาออกเสียทีเดียว สำหรับองค์กรณ์ใหญ่ที่ต้องการ Role ที่ชัดเจนเค้าอาจจะอยากได้ตรงๆชัดๆตาม Job description แต่องค์กรณ์กลางถึงเล็กการมี Skill ย่อยๆเหล่านี้อาจจะเป็น Benefit ถ้าแนะนำคือเน้น Skill หลัก แต่จบท้่ายด้วย Skill ย่อยสั้นๆเผื่อเค้าสนใจ หรืออาจจะศึกษาตั้งแต่แรกเลยว่าองค์กรณ์เค้าเเป็นประมาณไหน Skill ไหนเราน่าจะช่วยทำให้เราอยู่เหนือคู่แข่งได้


จำนวนเท่าไรถึงดี

ไม่มีกำหนดขึ้นอยู่กับ Role ของคุณ แต่ตัวเลขที่ดีคือ 4-6 ในความเห็นของผม เพราะไม่เยอะจนเกินไป ไม่น้อยเกิน แต่ถ้างานของคุณคล้ายๆกันคุณอาจจะลดเหลือ 3 ก็ได้ 

Recruiter แต่ละคนมองงานไม่เหมือนกัน และแล้วแต่ Role ที่คุณสมัครด้วย สำหรับ UX กระบวนการทำงานสำคัญสุด ผมต้องการรู้ว่าคุณทราบปัญหายังไง Tackle ปัญหายังไง และสุดท้ายเรียนรู้อะไรจากสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ผมเห็น 3-4 งาน แต่เวลาเจาะลึก ผมมักจะเลือกแค่ 1-2 งานเท่านั้น


Greatest ต้องไม่ Outdated

ควรทำให้ชัดเจนว่างานในเป็นงานล่าสุด งานไหนเป็นงานเก่า สิ่งสำคัญคืองานล่าสุดคุณทำอะไรมา และทำได้ดีแค่ไหน งานเก่าๆเป็นเพียงการ Reference เท่านั้น ผมเชื่อว่างานเก่าก็ยังสำคัญเพราะว่ามันอาจจะเกี่ยวกับบางอย่างที่องค์กรณ์สนใจก็ได้ สิ่งที่คุณจะต้องทำให้เห็นคือ พัฒนาการที่เกิดขึ้นจากงานเก่าๆไปสู่งานใหม่ แต่งานเก่าก็ไม่ควรต้องไปเน้นมาก ผมเองมีงานเก่าที่มันไม่ดีเยอะ ก็ใช้วิธีโชว์แค่บางรูป เขียนบรรยายสั้นๆ และวางไว้สักที่นึงเผื่อเค้าถาม


You Have Thirty Seconds to Impress

ใช่คุณมีเวลาน้อยมากที่จะทำให้เค้าสนใจ และรู้จักคุณ บางทีเค้าตัดสินคุณตั้งแต่เห็น  CV, Portfolio หรือแม้แต่รูปของคุณแล้ว ที่ต่างประเทศเค้าเลยมักจะไม่ใส่รูปใน CV เพราะว่าเป็นเรื่องร้ายแรงถ้าคุณคัดเลือกบุคคลโดยหน้าตา เพศ เชื้อชาติ หรือแม้กระทั้ง อายุ!!!! Discrimination ACT 

ที่บริษัทผมตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นการสัมภาษณ์ Online และการเปิดกล้องเพื่อคุยเป็นเรื่องไม่จำเป็นด้วยซ้ำ บางคนรับมาแล้วถึงมาเห็นหน้าก็มี

กลับมาที่ 30 วินาที ดังนั้นการเล่าเรื่องของคุณ หรือกระทั้ง Narrative , Visual Design, Craftmanship บนเวบต้องน่าสนใจ

ผมเองก็ฝึกเรื่องของ Storytelling นี้อยู่เหมือนกัน ที่อยากจะบอกคือมันสร้าง impact ได้จริงๆนะ งานธรรมดา แต่เล่าเรื่องดีมันสร้าง impact ได้มากกว่างานดีแต่เล่าเรื่องไม่เป็นอีก เรามักจะเห็นบ่อยๆในตอนเรียนมหาลัยที่เพื่อนบางคนทำงานออกมาธรรมดามาก แต่กลับได้คะแนนดี แต่เราตั้งใจทำงานอดหลับอดนอน แต่ไปพรีเซนต์กลับได้คะแนนแย่ นั้นอาจเป็นเพราะเราอดนอนจนะพูดไม่รู้เรื่อง



Portfolio website or presentation deck 

ทั้งสองอันนี้ถึงแม้เล่าเรื่องเดียวกันแต่เราควรจัดโครงสร้างไม่เหมือนกัน เวบคนดูมีอิสระในการเลือกดู อาจจะกระโดดข้ามไปข้ามมาในหลายๆหน้าได้ แค่ Deck หรือ  Slide ไม่เหมือนกัน มันถูกจำกัดการเล่าเรื่องที่เป็น Linear มากกว่า ดังนั้นต้องคิดด้วยว่าแต่ละ Medium เราจะเล่าเรื่องหรือวาง Structure แบบไหน



เลือกงานไหนมาโชว์ดี

ก่อนอื่นถ้ายังไมไ่ด้อ่านด้านบนให้ถ่องแท้ ให้กลับไปอ่านก่อน มันสำคัญมากที่ต้องรู้ว่าคนสัมภาษณ์เราต้องการแบบไหน บางทีเราก็ถามได้นะ ว่าอยากได้ Port หลากหลาย หรืออยากให้เน้นงานแบบไหนเป็นพิเศษ สำหรับบริษัทที่มีความชัดเจนในตัว Product อาจจะง่าย แต่ถ้าเป็นบริษัทแนว  Consultance หรือ Agency ก็อาจจะเลือกยากนิดนึง แต่ถ้าเป็น UX/UI ก็น่าจะประมาณนี้


  • Product thinking: แสดงความเข้าใจในตัวธุรกิจ เป้าหมาย หรือแม้กระทั้งเข้าใจในตัวลูกค้าหรือผู้ใช้งานของคุณ

  • Visual design: ความสามารถในเชิงศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ 

  • Design process: หลายคนมาสมัครงานและรู้จัก tools หรือ Framework การออกแบบได้เป๊ะ ถามอะไรตอบได้หมด แต่ถามว่า มันเกี่ยวข้องยังไง ทำไมถึงต้องทำ และคาดหวังอะไรจากการทำ กลับตอบได้ไม่ดี นั้นเป็นเพราะว่าคุณยังไม่เช้าใจมันดีพอ

  • Driver: แรงขับเคลื่อนที่คุณทำมัน ตัวนี้บางทีไม่ต้องเล่าตรงๆ น้ำเสียงและวิธีการเล่าเรื่องมันบอกอยู่แล้วว่าคุณชอบและรักงานที่คุณทำยังไง บางที่ไม่ต้องเล่าให้จบผมก็ให้คุณตกหรือผ่านแล้ว

  • Self-awareness:  รู้ตัวว่าตัวเองเก่งไม่เก่งยังไง และแก้ไขหรือวางแผนรับมือมันยังไง อันนี้สำหรับผมเป็นอะไรที่ดีมาก แต่สำหรับ Recruiter บางคนอาจจะเป็นดาบสองคม การเผยจุดอ่อนเราสำหรับ คนที่ไม่ให้โอกาสคน เค้าอาจจะปิดประตูใส่เราทันทีเลยก็ได้ แต่สำหรับบางคนเค้าจะมองว่าคุณเป็นคนที่ Honest มี Self-awareness และสามารถวางแผนรับมือกับมันได้ดี Skill เหล่านี้สำคัญมากสำหรับคนที่เป็น Team lead ขึ้นไป

บางทีการเปิดเผยจุดอ่อนและวิธีการเอาชนะหรือป้องกันมันอาจเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการวัดความน่าอยู่ขององค์ก็ได้ 


ความ Confidential ของงาน

แน่นอนเมื่อคุณเอางานของบริษัทมาเปิดเผยคุณควรจะเช็คให้ดีว่าสมควรจะเปิดแค่ไหน หรือไม่สมควรเลย คุณคิดว่าดูว่า Recruiter ไม่ได้ลงทุนอะไรเลย แต่อาจจะได้ความลับของบริษัทคุณที่กำลังซุ่มทำอยู่ หรือว่าลูกค้าบริษัทคุณไปง่ายๆ ดังนั้นคิดก่อนแชร์ทุกครั้ง 

สำหรับคนที่ติด NDA หรือ non-disclosure agreement ก็คือห้ามเลยครับ กลับไปอ่านเงื่อนไขตอนคุณเซ็นต์อีกครั้ง ซึ้ง level ที่เห็นน่าจะประมาณนี้


  • Share nothing: คือไม่สามารถเปิดเผยได้เลย อาจจะเล่าคร่าวๆได้ตามที่ใน NDA ระบุไว้ การแช่รูปหรือตัวงานห้ามทำเด็กขาด
  • Password-protect: เป็นการป้องกันอีกชั้นแต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณติด NDA แล้วจะสามารถทำได้ การที่คุณเอาเข้าสู่ internet ก็เท่ากับเหยียบเท้าเข้าคุกครึ่งนึงแล้ว ดังนั้นต้องมั่นใจว่าข้อมูลหลังจากกรอก Password ก็ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกตกแต่งแล้ว

    ถามว่าการตกแต่งข้อมูลเป็นยังไง ผมเองก็ไม่รู้ แต่ที่ผมเห็นหลายๆคนทำ ก็คือ ไม่บอกชื่อลูกค้าตรงๆ เปลี่ยน Corporate identity เช่น สี logo หรือรูปภาพ ถ้าเป็น UI/UX ก็คือออกแบบใหม่ด้วยเค้าโครงคล้ายเดิม การเล่าเรื่องที่ไม่เล่าแบบหมดเปลือก เล่าแค่ Outcome บางอย่าง หรือเล่าเป็นกระบวนการเท่านั้น ก็คือจะคล้ายๆข้อถัดไป

  • Abstract the data: บาง NDA สามารถให้คุณแชร์ข้อมูลได้ ถ้าหากมันถูกเปิดเผยแบบสาธารณะแล้ว เช่น Product launch แล้ว หลายๆที่ส่งเสริมด้วยซ้ำไป อย่างที่จะเห็นบริษัท Tech ออกมากเล่าเรื่องแนวทางการทำงาน แนวทางการสร้าง Feature ใหม่ที่เพิ่งปล่อยออกไป เพื่อดึงดูดคนที่สนใจและมีวิธีการทำงานคล้ายๆกันมาสมัครงาน แต่พยายามไม่แชร์ข้อมูลสำคัญ เช่นตัวเลขต่างๆ ตัวเลขคนสมัคร Active user หรือแม้กระทั้งรายได้ที่เกิดขึ้น ถ้าจำเป็นก็บอกเป็น % ได้ เช่นเพิ่มขึ้น 20%


แนวทางการเล่าเรื่อง

แน่นอนอย่างที่บอกไปการเล่าเรื่องสำคัญ อันนี้เป็นตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ผมเจอและคิดว่าน่าจะเอามาใช้ แต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยนไปตาม Context และประเภทของโปรเจคได้เหมือนกัน


สร้าง Context

เล่า Background ที่มาที่ไป ใครเป็นลูกค้า ใครทำอะไร ให้คนที่มาอ่านหรือฟังพอเข้าใจคร่าวๆ


Share the Problems

มันคือทำไมคุณถึงต้องทำงานนี้ ไม่ต้องตอบว่าเงิน เพราะเงินมันต้องได้อยู่แล้ว แต่ก็มีโปรเจคบางตัวไม่ได้ทำเพราะเงินนะ นั้นคือคุณต้องการจะแก้ปัญหาอะไร หรือคุณมองเห็นอะไร มากไปกว่านั้นคุณมั่นใจได้ไงว่านั้นมันคือปัญหาจริงๆไม่ใช่สมมุติฐานที่คุณหรือคนอื่นสร้างขึ้น


Share Your Actions

หลังจากคุณเห็นมัน คุณคิดอะไร คุณทำอะไร ทำไมคุณถึงตัดสินใจทำสิ่งเหล่านั้น เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการสัมภาษณ์สำหรับองค์กรที่รับคนเข้ามาแก้ปัญหา สำหรับองค์ที่แค่ทำงานแต่งหน้าทาปากอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้มากนัก แต่ถ้าคุณชอบเพราะมันตรงกับ Aspiration คุณมันก็ไม่ได้แย่นะ


Share the Results

อะไรเป็นผลจากการกระทำหรืออะไรเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สร้างขึ้น สิ่งที่ไม่สำคัญสำหรับผมคือมันสำเร็จไหม หรือสำเร็จเท่าไร ผมมอง Impact ที่เกิดขึ้น งานบางตัวของผม ผู้ใช้งานอาจจะน้อยแต่ impact มันคือสร้างน้องๆกลุ่มใหม่ที่เห็นปัญหาเดียวกัน และมองว่าเค้าก็อยากเข้ามามีส่วนร่วม แม้ version หลังผมจะไม่ได้ทำอีกต่อไปแล้ว แต่ Ripple-effect ที่ผมสร้างขึ้นยังคงทำให้คลื่นลูกใหม่กระเพื่อมและส่งต่อๆกันไป

ตัวเลข impact ถ้ามันเยอะอาจจะเอามารวมก็ได้ เพราะแน่นอนการทำอะไรมันต้องมี KPI วัดผล แต่ถ้าไม่มีบางทีก็อาจจะหาข้อมูล Qualitative อื่นๆมานำเสนอแทน


Story or Bullet Points

อันนี้แล้วแต่เลย ผมชอบ Bullet point เพราะเวลาเราไม่มาก แต่บางที่เล่าเรื่องให้ดึงดูดก็ดีเหมือนกันนะ แต่อย่าให้มันเยอะและมีแต่น้ำจนเกินไป


Share the Final Product

แสดงให้เห็นเลยว่า ผลงานเป็นยัง บางทีผมตัดสินเสร็จตั้งแต่เล่าเรื่องแล้ว อย่างที่บอก Outcome สำหรับผมไม่สำคัญเท่า Process และ Learning แต่ก็มีน้องบางคนที่เล่าเรือ่งไม่ดี หรือบอกอะไรก็ไม่ชัดเจน แต่ผลงานดีมากๆ อันนี้ก็ต้องซักต่อแล้วว่าเอางานคนอื่นมาหรือปล่าว หรือว่าทำเองแต่แค่ Present ไม่เก่ง



Save Your Introduction For Later

ไปเจอคำนี้มา มันโดน เพราะผมเองก็เป็น เราเปิดงานก่อนเลยดูว่างานน่าสนใจไหม กระบวนการโอเคหรือปล่าว หลังจากนั้นสมมุติฐานมันจะเกิดขึ้นในหัวเต็มไปหมด ก็ไปอ่านเพิ่มเติมว่าคนๆนี้เป็นใคร และส่วนใหญ่ก็ Surprise เราได้

แต่บางทีก็อ่านก่อนว่าเค้าเป็นใครแล้วค่อยไปดูผลงาน อย่างหลังอาจจะไม่ค่อย Surprise เท่าไรเพราะว่าเรารู้จักเค้าแล้ว

แต่ไม่มีผลต่อการตัดสินใดๆทั้งนั้น แค่เป็นเรื่องของความเร็วในการ Scan กรณีที่มีคนสมัครมาเยอะๆ และ Introduction เหล่านี้คืออะไรบ้าง

Work history: ประวัติการทำงาน ถ้าจะกรุณารบกวนคำนวนด้วยว่าทำแต่ละที่มากี่ปี ตัวเลขนี้ค่อนข้างมีผลต่อการตัดสินใจสำหรับ Role ที่มีความสำคัญมากๆ ถ้าเป็น online ให้โชว์เวบไซต์ที่สามารถกดไปดูจากช่ือบรืษัทได้จะดีมากๆ การเรียงผมชอบเรียงจากปัจจุบันไปหาอดีตนะ กรณีที่มีการทำงานซ้อนกันหรือมีงาน Volunteer อาจจะทำเป็น Timeline ให้เห็นภาพง่ายๆก็ได้

Testimonials: เป็นตัววัดใจอันนึง ผมเองมีไม่เยอะ เพราะว่าแน่นอน มันต้องถูกคัดเลือกมาอยู่แล้ว ใครจะเอาเรื่องไม่ดีมาเปิดเผลหล่ะใช่ไหม แต่สิ่งที่ผมได้จากตรงที่ก็คือ Engagement เช่น ฉันเคยทำงานร่วมกับคนมีชื่อเสียงนะ และเค้าก็ใจดี Provide ตรงนี้ให้ฉันด้ยวย

Skills: แน่นอน Skill สำคัญๆเค้าน่าจะต้องเห็น หรือเอาอาจจะ Show ไปก่อนหน้านี้แล้ว คราวนี้หล่ะ side-skill อะไรที่เรามีบ้างที่อาจจะเป็นประโยชน์ หรือทำให้เราอยู่เหนือคู่แข่ง อย่าใส่อะไรที่มันไม่เกี่ยวมากไปเลย เช่นสมัครงานเป็น Deigner แต่ทำงานเป็นพนักงานเสริฟที่ New York ถามว่าผมก็เคยทำนะอาชีพนั้น แต่เขียนเวลาที่คุณมีเรื่องที่น่าสนใจจะเล่าดีกว่า เช่น การที่คุณทำงานเป็นพนักงานเสริฟคุณเห็นปัญหาของ Operation Process แล้วคุณได้ทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่มาใช้จนเกิดเป็น Product หรือ Service ใหม่ๆ

Strengths: เป็นตัวตอกย้ำก่อนปิดบทสนทนา Peak-end rule เพื่อให้คนอ่านหรือฟังจำหรือเตือนเค้าอีกที่ว่าคุณเป็นยังไง



The Tool Doesn’t Matter

อย่าให้เครื่องมือมาบดบังงานของคุณ ผมเคยทำ Web portfolio หลาย version มากๆตั้งแต่ Dreamweaver, Flash, HTML, Blogger, Wordpress, WIX, และอื่นๆ สุดท้ายมาจบที่ Notion แล้วก็หาตัวเสริมอย่าง Suprer มาใช้ ปัญหาคือ ถ้าเราไมได้ Showcase เรื่อง tools หรือ Sklll การ coding ผมว่าไม่จำเป็นเลย มันน่ารำคาญเสียอีกเวลามี Effect เยอะๆ Focus กับ Content ดีกว่าครับ บางทีไม่มีเวบก็ไม่เป็นไร แค่แนบlink ไป Deck/Slide Portfolio จาก Dropbox, google drive แล้วแปะในเมลหรือ Linkedin ก็พอ 

 


สุดท้ายการสมัครงาน แม้การถูกปกิเสธจะเป็นเรื่องเจ็บปวด อย่างน้อยก็กับผม แต่ถ้ามองจากภาพกว้างมันคือ opportunity บางที skill คุณไม่ใช่ไม่มี แต่แค่ไม่ถูกเวลาแค่นั้นเอง ดังนั้นการรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญ วันนึงเค้ามี Role ที่เหมาะเค้าอาจจะติดต่อมาเองก็ได้ ทำให้ดีที่สุดก็พอครับ




และนั้นก็เป็นประสบการณ์ผมเองจากการรีวิว portfolio และอีเมลสมัคงานเป็นจำนวนนึง ผมเองถึงขนาดต้องสร้าง Tool จาก Notion ในการช่วยเก็บข้อมูล Build Script กรณีเจอ Case แปลกๆแล้วนึกคำถามไม่ทัน ใครสนใจหรืออยากให้ผมช่วยอะไรก็ติดต่อมาได้

Post a Comment

You can share any idea here.......

Previous Post Next Post

Contact Form