กุมความรู้สึกคนฟังให้อยู่หมัดด้วยหลักจิตวิทยา 12 ข้อ

หลายๆครั้งที่ผมสู้กับงานอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกับงานที่ต้องมีคนมาเกี่ยวข้องมากมาย ประสบการณ์สอนให้รู้ว่าสิ่งที่ยากไม่ใช่การทำงานเท่าไรหรอก แต่เป็นการทำงานกับคนมากกว่า มันมีทริคอยู่บ้างที่ผมเอามาจากบทความต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานกับคนของคุณง่ายขึ้น



1. เวลาที่เรากำลังสนทนากับเป็นกลุ่ม ให้คอยสังเกตคนที่สบตาคุณเวลาที่ทั้งหมดกำลังหัวเราะ คนๆนั้นจะมีความรู้สึกบางอย่างพิเศษกับคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง มันช่วยบอกได้ว่าคนๆนั้นมีอะไรบางอย่างที่อาจจะเชื่อมไปสู่ความไว้ใจในตัวคุณ

และแน่นอนลองมองกลับกันเวลาคุณกำลังสนใจใครคนนึง คุณก็จะ make eyes contact ด้วยใช่ไหม

2.  เวลาที่เราขอให้คนๆหนึ่งทำอะไรพิเศษให้คุณ อันนี้ผมอ่านเจอในหลายบทความละ มันเป็นหลักของจิตวิทยา ถ้าเราขอให้เค้าทำอะไรเล็กๆน้อยๆที่ไม่ลำบาก มันจะช่วยลดกำแพงอะไรบางอย่างระหว่างกันลง มันไม่เชิงว่าหนี้บุญคุณนะ

3. ใช้ความเงียบในการหาคำตอบ เวลาคุณตั้งคำถามกับใครสักคน และเค้ามีความรู้สึกว่าต้องคิด หรือว่าตอบเราช้า บางหลักจิทยาว่ากันว่า เค้ากำลังหาเหตุผลในการโกหก นั้นก็อาจจะใช่ แต่บางที การปล่อยให้ความเงียบเกิดขึ้นโดยยังไม่เปลี่ยนหัวข้อสนทนา ความเงียบน้นจะทำให้เค้าต้องเอ่ยปากพูดออกมาเอง ซึ่งเหมาะกับการเจรจาต่อรอง แต่คุณต้องมั่นใจนะว่าคุณคุมเกมอยู่จนว่าคุณจะได้คำตอบ

4.  อ้าแขนและแบมือ สร้างความเชื่อใจ เป็น non-verbal language อย่างหนึ่งเพื่อทำให้คู่สนทนาคุณรู้สึกเชื่อมโยงความไว้ใจกับคุณได้ แทนที่จะเวลาพูดเราจะชี้ไปที่เค้า เปลี่ยนเป็นแบมือ และยื่นไปทางเค้า ราวกับว่าเรากำลังยื่นมือเพื่อช่วยเหลือเค้าแทนที่จะสั่งการ หรือชี้เป็นชี้ตายเค้า

5.  พยักหน้า สร้างความเห็นพ้องด้วย ในระหว่างบทสนทนา ทริคที่ทำให้คนที่ไม่มีความเห็นใดๆในบทสนทนานั้น รู้สึกเห็นพ้องไปกับคุณก็คือ การที่พงกศรีษะเวลาถามคำถามเพื่อ make sure ว่าคุณเห็นด้วย ผมเห็นบ่อยมากเลยในพวกนักพูดหลายๆคน เค้าจะจ้องตาคุณด้วยประกายตาที่สดใส่ แล้วถามว่า เห็นด้วยใช่ไหม? หรือว่า ถูกต้องไหมครับ? มันเป็นการสะท้อนการแสดงออกไปสู่ผู้รับสาน เพื่อให้เกิดความรู้สึกเดียวกัน

6. ถ้าคุณจำเป็นจะต้องโกหก ให้สร้างเรื่องน่าอับอายสักเรื่องแทรกเข้าไปเพื่อให้ดูมีความเป็นจริงมากขึ้น ทริคนี้ผมก็เห็นกับพวกนักพูดอีกเช่นกัน บางทีเค้าเล่าออกมาเป็นแนวเรื่องตลก เพื่อเบี่ยงเบนจุดสนใจไป และทำให้เรารู้สึกว่าคนๆนั้นก็เป็นเหมือนคนธรรมดาที่ผิดพลาดได้เหมือนคนทั่วไป ไม่ได้เก่งมาจากไหน โดยอาศัยเรื่องที่เค้ากุขึ้นมา เพื่อให้เรื่องที่เค้ากุขึ้นมาเข้าไปถึงความเชือในจิตใจเรามากขึ้น ผมว่ามันร้ายกาจมาก ถ้าจับไม่ได้ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าจับได้ ผมคงเสื่อมศรัทธากับคนๆนั้นทันที

7.  คนมักจะจำเรื่องราวที่ยังไม่เสร็จได้ดีกว่า อาจจะงงนิดนึง ผมแปลตอนแรกนี่ก็งงนะ แต่พอหาข้อมูลเพิ่มแล้วแบบมันเป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆ เค้าเรียกกันว่า Zeigarnik effect. เป็นหลักการของสมองกับ Short Term คล้ายๆกับว่าถ้าสมองยังคงค้างคากับเรื่องอะไรบางอย่างอยู่มันจะพยายามกำจัดเรื่องที่ค้างคาอยู่ให้หมดไป ไม่เช่นนั้นมันจะยังคงถูกจดจำไว้ในสมองคอยกวนใจไปตลอด

ทางที่ดีที่จะลืมสิ่งที่ยังไม่เสร็จให้ได้คือพยายามทำให้มันเสร็จ แล้วมันจะค่อยๆหายไป

8.  เคี้ยวหมากฝรั่งช่วยคลายเคลียดและช่วยโฟกัส การเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยลดระดับของ cortisol (เป็นฮอร์โมนที่จำเป็น เกี่ยวกับการอดอาหาร) ช่วยกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนบางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน (gluconeogenesis) เรียกว่า กลูโคส สแปริ่ง เอฟเฟ็ก (glucose – sparing effect) ซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญ เพราะจะมีผลในการเผื่อน้ำตาล กลูโคสไว้ให้สมองใช้งานได้ตลอดเวลา ทำให้เพิ่มความสามารถในการลำดับและจดจำได้ดีขึ้น

9.  เท้าคนจะเผยสิ่งที่สนใจ อาการนี้ผมสังเกตตัวเองเลยว่าเป็น เพราะว่าเวลาเราสนใจอะไร ตัวเท้าเราจะเผลอชี้ไปทางนั้น ถึงแม้ว่าร่างกายด้านบน หรืออาการทางสีหน้าจะถูกเก็บไว้ก็ตาม

10.  เวลาเราพบใครใหม่ๆ ให้ถามชื่อเค้าไว้ และพยายามเอ่ยชื่อเค้าในบทสนทนาให้มากที่สุด นี่จะช่วยสร้างความคุ้นเคย และยังช่วยกระตุ้นสมองเราให้สามารถจดจำชื่อของเค้าได้ด้วย เนื่องจากความจำที่ดีต้องเกิดจากการใช้ ผมเองมีปัญหาเรื่องการจำชื่อคน เพราะไม่สามารถจำได้เลย วิธีนี่ดีที่สุดและได้ประโยชน์หลายทาง

11.  แสดงอาการตื่นเต้นทำให้คนอื่นชอบคุณ ถ้าคุณแสดงออกถึงความตื่นเต้น พฤติกรรมนี้จะสะท้อนกับไปยังผู้คนที่อยู่รอบคุณ มันจะทำให้เค้าสนใจตัวคุณกลับ หรือตื่นเต้นไปตามคุณ

12.  รักษา Eye Contact ให้ได้ 60% ของบทสนทนา การจ้องมองใคร 100% มันก็เหมือนจะเฟคเกินไป บางทีก็ดูเป็นการก้าวร้าว เราแค่รักษาเอาไว้พอประมาณให้รู้สึกเหมือนว่าเราไม่ได้ทอดทิ้งคนฟังคนใดคนหนึ่งไปนะ หรือไม่ได้ลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวเค้าเกินไปก็พอ


Post a Comment

0 Comments